ปรึกษาผลิตภัณฑ์กับเรา

เนื้องอกเป็นยังไง เกิดจากอะไร และอาการแบบไหนที่ควรระวัง?

05-May-2025     อ่าน : 7 คน


เนื้องอก คืออะไร? สังเกตอาการ ลักษณะ ว่าก้อนเนื้อแบบไหนที่ควรระวัง

“เนื้องอก” ไม่ใช่โรคมะเร็ง เพียงแต่มีโอกาสจะพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ในอนาคต การตรวจพบเนื้องอกตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เราสามารถเฝ้าระวังหรือรักษาได้อย่างเหมาะสม แต่ไม่ใช่ทุกเนื้องอกจะกลายเป็นมะเร็ง บทความนี้จะช่วยพาคุณไปทำความเข้ากับชนิดเนื้องอก อาการที่ควรสังเกต และแนวทางการดูแลตัวเองเมื่อมีการตรวจพบเนื้องอก

สมุนไพร, ผักสด, และอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ

เนื้องอก คืออะไร

เนื้องอก (Tumor) คือ ก้อนเนื้อที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มเซลล์ สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายอวัยวะตามร่างกาย แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่

  • เนื้องอกชนิดธรรมดา (Benign Tumor) คือเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์ที่มากระจุกกันแต่เติบโตได้ช้า ไม่ลุกลามไปยังอวัยวะอื่น และไม่เป็นอันตราย โดยมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นมะเร็งที่ต่ำมาก  ตัวอย่างของเนื้องอกชนิดธรรมดา เช่น เนื้องอกไขมัน (Lipoma) และไฝ (Nevus)
  • เนื้องอกชนิดอันตราย (Malignant Tumor) เนื้องอกประเภทนี้มักจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบไปด้วยเซลล์ผิดปกติ (Abnormal cells) สามารถลุกลามไปยังอวัยวะข้างคียง และแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ เนื้องอกประเภทนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของโรคมะเร็ง

เนื้องอก เกิดจากอะไร

เนื้องอกเกิดจากหลายปัจจัย การที่เซลล์เจริญเติบโตผิดปกติอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่อไปนี้ เช่น 

  • กรรมพันธุ์ กรณีที่บุคคลในครอบครัวเคยเป็นเนื้องอกมาก่อน สิ่งนี้ก็สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
  • สิ่งแวดล้อม การได้รับสารพิษ ควันบุหรี่ หรือรังสีเป็นเวลานาน เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้เซลล์เจริญเติบโตผิดปกติได้เช่นกัน
  • การติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัสบางชนิดอาจเป็นสาเหตุของการเกิดเนื้องอกได้
  • การรับประทานอาหาร อาหารบางชนิดมีสารอาหารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้องอก หรือเร่งให้เกิดเนื้อร้ายได้
  • ความเครียด สภาพจิตใจที่เคร่งเครียดมีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติได้เช่นกัน

การวัดความดันโลหิตโดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการตรวจสุขภาพ

จะรู้ได้ไงว่ามีเนื้องอก อาการของเนื้องอกเป็นอย่างไร

อาการของเนื้องอกอาจแตกต่างกันไปตามตำแหน่งและชนิดของเนื้องอก บางครั้งอาจไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะแรก แต่เมื่อก้อนเนื้อโตขึ้นถึงจุดหนึ่ง อาจทำให้สังเกตเห็นอาการผิดปกติบางอย่าง เช่น

  • คลำเจอก้อนเนื้อ เนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณเต้านม คอ หรือส่วนอื่น ๆ ที่ใกล้ผิวหนัง มักจะสามารถตรวจเจอได้ด้วยการคลำ
  • รู้สึกปวดบริเวณที่มีเนื้องอก ผู้ที่มีเนื้องอกบางรายอาจมีอาการปวดแบบเรื้อรัง หรือปวดทุกครั้งที่มีการขยับร่างกาย
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หากไม่ได้ควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายอย่างหนัก แต่น้ำหนักกลับลดลงแบบผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดเนื้องอกบางบริเวณได้
  • อ่อนเพลีย หากเนื้องอกที่เกิดขึ้นไปขัดขวางการทำงานของระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยง่ายมากกว่าปกติ

“เนื้องอก” กับ “มะเร็ง” เหมือนกันหรือไม่

แม้ว่าเนื้องอกบางชนิดสามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเนื้องอกทุกชนิดจะเป็นอันตราย ดังนั้น การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง เนื้องอกธรรมดา และ มะเร็ง จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยมีรายละเอียดที่ควรรู้ ดังนี้

  • เนื้องอกธรรมดา จะมีขอบเขตชัดเจน เติบโตช้าหรือไม่มีการโตขึ้น และไม่ลุกลามไปยังอวัยวะอื่น 
  • มะเร็ง จะมีขอบเขตไม่ชัดเจน ผิวไม่เรียบ อาจมีสีไม่สม่ำเสมอ เติบโตเร็ว ขยายขนาดเร็ว และสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ผ่านทางกระแสเลือดหรือระบบน้ำเหลืองได้

ตัวอย่าง เช่น ไฝ หากเม็ดไฝมีขอบเขตชัดเจน ขนาดเท่าเดิม และไม่เกิดเป็นแผลหรือดูผิดปกติ ก็จะถือว่าเป็นเนื้องอกธรรมดาและไม่อันตราย แต่หาก ไฝเม็ดนั้นเริ่มขยายใหญ่ขึ้น เกิดเป็นแผล หรือมีความไม่สมมาตร เราควรรีบเข้าพบแพทย์ เนื่องจากถือเป็นสัญญาณของมะเร็งผิวหนัง

หากตรวจพบก้อนเนื้อใด ๆ ในร่างกาย อย่าเพิ่งตื่นตระหนก หรือกังวลว่าจะเป็นมะเร็งเสมอไป ทางเลือกที่ดีที่สุด คือการเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นเนื้องอกชนิดใด และรักษาตามอาการที่เหมาะสม

การพูดคุยระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยสูงอายุในการดูแลสุขภาพที่โรงพยาบาล

ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยเนื้องอก

หากคลำเจอก้อนเนื้อ หรือสงสัยว่ามีเนื้องอก การไปพบแพทย์เป็นสิ่งที่จะช่วยคลายความกังวลได้ดีที่สุด โดยทั่วไป จะมีขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยเนื้องอก ดังนี้

  1. ตรวจร่างกายเบื้องต้น แพทย์จะใช้มือคลำหาเนื้องอก และสอบถามอาการที่ผู้ป่วยพบเจอ เพื่อวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนจะใช้เครื่องมืออื่น ๆ ตรวจลักษณะก้อนเนื้องอกในขั้นตอนต่อ ๆ ไป
  2. อัลตราซาวด์ (Ultrasound) การตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวด์จะช่วยให้แพทย์เห็นขนาด รูปร่าง เพื่อวินิจฉัยว่าก้อนเนื้อใดที่เข้าข่ายเป็นเนื้อร้าย หรือก้อนเนื้อแบบไหนอันตราย
  3. เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การใช้เครื่องมือนี้จะช่วยให้ทราบรายละเอียดและตำแหน่งของก้อนเนื้ออย่างชัดเจน และช่วยให้ตรวจพบเนื้องอกขนาดเล็กที่ไม่สามารถใช้วิธีการอื่นตรวจพบได้
  4. การตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) เพื่อยืนยันว่าก้อนเนื้อต้องสงสัยเป็นเนื้อร้ายจริงหรือไม่ แพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเข้าห้องปฏิบัติการ เพื่อนำไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ช่วยยืนยันผลได้ชัดเจนที่สุด

เมื่อตรวจพบเนื้อร้าย จะมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

กรณีที่ทราบแล้วว่าเนื้องอกคือเนื้อร้าย จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาทันที ทั้งนี้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่การเลือกวิธีการรักษาเนื้องอก ก็ต้องขึ้นอยู่กับอาการและระยะของโรคด้วย วิธีรักษามะเร็งที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่

  • การผ่าตัด เพื่อกำจัดก้อนเนื้อร้ายออกจากร่างกาย
  • เคมีบำบัดหรือคีโม การให้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
  • การฉายรังสี การใช้รังสีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
  • ภูมิคุ้มกันบำบัด การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็งได้

การตรวจพบเนื้องอกตั้งแต่มีอาการระยะแรก ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาได้ดีมากกว่า นอกจากนี้ ยังสามารถใช้สมุนไพรทางเลือกอย่าง ยาน้ำเทียนเซียน เป็นตัวช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง และฟื้นฟูร่างกายในระหว่างการรักษาโรคได้ด้วย

ใครอยากปรับสมดุลร่างกายด้วยสมุนไพรจีน ที่สามารถใช้ควบคู่ไปการรักษาแผนปัจจุบันได้อย่างปลอดภัย สามารถสั่งซื้อได้เลยที่ LINE : @tianxian

 

ปรึกษาผลิตภัณฑ์ยาจีน

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


มะเร็งกับการดูแล

มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับอาหาร