ทำอย่างไร? เมื่อตรวจพบเนื้องอกที่ตับอ่อน

07-Jun-2022     อ่าน : 221 คน


 

ทำอย่างไร? เมื่อตรวจพบเนื้องอกที่ตับอ่อน

เนื้องอกที่ตับอ่อน สามารถเกิดขึ้นได้และไม่ควรชะล่าใจ เพราะอาจตรวจเป็นมะเร็งตับอ่อนหรือโรคอื่นของตับอ่อนได้ ดังนั้นการตรวจเช็กสุขภาพตับอ่อนและปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติคือเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย

รู้ได้อย่างไรว่ามีก้อนเนื้อที่ตับอ่อน?

การตรวจหาก้อนเนื้อที่ตับอ่อนเบื้องต้นสามารถทำได้โดยการตรวจอัลตราซาวนด์ แต่อาจเห็นตับอ่อนได้ไม่ชัดเจนเนื่องจากตับอ่อนอยู่ด้านหลังและถูกบังโดยกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ดังนั้นอาจตรวจดูให้ชัดเจนขึ้นด้วยการตรวจ CT Scan หรือ MRI

  • ก้อนเนื้อที่ตับอ่อนอาจทำให้ผู้ป่วยเป็นดีซ่าน ตรวจร่างกายพบก้อนที่หน้าท้อง อิ่มเร็ว และน้ำหนักลด
  • ก้อนเนื้อที่ตับอ่อนอาจถูกตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพด้วยการอัลตราซาวนด์หรือการตรวจโรคในช่องท้องอื่น ๆ
  • ก้อนเนื้อที่ตับอ่อนลักษณะใดที่เป็นเนื้อร้าย?
  • ก้อนเนื้อที่ตับอ่อนไม่ได้เป็นเนื้อร้ายไปเสียทั้งหมด
  • ก้อนเนื้อที่ตับอ่อนอาจเป็นก้อนเนื้อหรือถุงน้ำ (cyst) หากพบเป็นก้อนเนื้อมีโอกาสการวินิจฉัยเป็นเนื้อร้ายสูง
  • ถุงน้ำของตับอ่อนส่วนใหญ่จะไม่ใช่เนื้อร้าย แต่ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อการวินิจฉัยที่ชัดเจนและการรักษาที่เหมาะสม

การวินิจฉัยก้อนเนื้อที่ตับอ่อนทำอย่างไร?

  • การตรวจด้วยเครื่อง CT Scan และ MRI มีความชัดเจนและถูกต้องในการวินิจฉัยโรคที่ร้อยละ 85 – 90
  • การวินิจฉัยเนื้อเยื่ออาจไม่จำเป็นในผู้ป่วยทุกราย แต่จะช่วยในผู้ป่วยที่วินิจฉัยไม่แน่ชัด หรือเพื่อยืนยันการวินิจฉัยถ้าอยู่ในระยะลุกลาม
  • การวินิจฉัยถุงน้ำอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมโดยการส่องกล้อง Endoscopic Ultrasound (EUS) และอาจมีการเจาะดูดน้ำจากถุงน้ำออกมาวิเคราะห์เพื่อให้วินิจฉัยได้อย่างชัดเจน

ขนาดของก้อนเนื้อมีความสำคัญหรือไม่?

ขนาดของก้อนเนื้อหรือถุงน้ำของตับอ่อนอาจสัมพันธ์กับโอกาสของการวินิจฉัยเนื้อร้าย ถ้ามีขนาดใหญ่มักพบความเสี่ยงของการวินิจฉัยเป็นเนื้อร้ายสูงกว่าขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามถุงน้ำบางชนิดที่มีขนาดใหญ่อาจไม่เป็นเนื้อร้ายได้ แพทย์จะแนะนำการผ่าตัดรักษาในมะเร็งตับอ่อนที่จัดอยู่ในระยะที่ผ่าตัดรักษาได้หรือโรคที่มีโอกาสพัฒนาเป็นเนื้อร้ายในอนาคต ก้อนเนื้อที่มีความเสี่ยงของการเป็นเนื้อร้าย เช่น ก้อนเนื้อที่เกิดจากต่อมไร้ท่อของตับอ่อน แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดหากมีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร แต่ถ้าเล็กกว่า 2 เซนติเมตรจะประเมินจากการเจาะตรวจเนื้อเยื่อและดูลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อพิจารณาเลือกการรักษาที่เหมาะสม ในกลุ่มถุงน้ำของตับอ่อนหากวินิจฉัยเป็นเนื้อร้ายควรรักษาด้วยวิธีผ่าตัด แต่ถ้าเป็นถุงน้ำที่มีขนาดเล็กและไม่มีความเสี่ยงสูง สามารถรักษาได้ด้วยการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

การพยากรณ์โรคและปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับอ่อน?

มะเร็งตับอ่อนเป็นมะเร็งชนิดร้ายแรงที่มีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดีและอัตราการอยู่รอดต่ำ ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์มักอยู่ในระยะลุกลามหรือมีการกระจายของโรคไปที่อวัยวะอื่น ๆ โดยมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 25 – 30 ที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ ปัจจัยความเสี่ยงบางประการเกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ เช่น โรคอ้วน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งต่อมาอาจก่อให้เกิดตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง และประเภทของอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ คอเลสเตอรอล อาหารทอด และไนโตรซามีน

ผ่าตัดก้อนเนื้อที่ตับอ่อนออกดีหรือไม่?

ก้อนเนื้อที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นมะเร็งโดยการค้นพบทางรังสีวิทยา หรือทางพยาธิวิทยา หรือทั้งสองอย่างควรรักษาด้วยวิธีผ่าตัดถ้าวินิจฉัยเป็นระยะที่ยังผ่าตัดได้ เนื่องจากการผ่าตัดเป็นการรักษาหลักเพื่อหวังผลหายขาดสำหรับก้อนเนื้อหรือถุงซีสต์ที่ไม่ทราบแน่ชัดและมีความเสี่ยงต่ำ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อประเมินและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม

หากต้องผ่าตัดตับอ่อนควรเลือกเทคนิคการผ่าตัดแบบใด?

ตำแหน่งของก้อนเนื้อเป็นตัวกำหนดการใช้เทคนิคในการผ่าตัด

  • การผ่าตัดผ่านกล้องของตับอ่อนส่วนปลาย (laparoscopic distal pancreatectomy) อาจพิจารณาในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพอยู่ที่บริเวณลำตัวหรือหางของตับอ่อน (pancreatic body and tail) และไม่มีข้อจำกัดใด ๆ มีข้อดีคือ ฟื้นตัวเร็ว ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลสั้นลง และมีอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิด
  • การผ่าตัดตับอ่อนบริเวณส่วนหัวของตับอ่อน (pancreatic head) อาจพิจารณาเลือกการผ่าตัดแบบเปิดเป็นหลักเนื่องจากมีกายวิภาคและเทคนิคการผ่าตัดที่ซับซ้อน โดยการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง (laparoscopic pancreaticoduodenectomy) เป็นวิธีการรักษาที่ค่อนข้างใหม่และใช้เวลาในการผ่าตัดนาน แต่อาจพิจารณาวิธีนี้หากศัลยแพทย์มีความชำนาญ

มะเร็งตับอ่อนป้องกันได้อย่างไร?

  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ รวมทั้งผักและผลไม้เพื่อช่วยลดความเสี่ยง
  • ดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนัก
  • งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง ดีซ่าน ท้องอืด อิ่มเร็ว หรือน้ำหนักลด ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้การวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

ขอขอบคุณข้อมูล รศ. นพ. ธัญญ์ อิงคะกุล โรงพยาบาลกรุงเทพ

 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook Tianxian herb
ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับการดูแล

มะเร็งกับอาหาร

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.