รู้จักมะเร็งในเด็ก - มะเร็งที่พบมากในเด็ก

01-Aug-2014     อ่าน : 3717 คน


                                                 

 

รู้จักมะเร็งในเด็ก - มะเร็งที่พบมากในเด็ก

มะเร็งที่พบมากในเด็ก ได้แก่

  1. มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  2. มะเร็งสมอง
  3. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  4. มะเร็งต่อมหมวกไต
  5. มะเร็งไต
  6. มะเร็งกระดูก
  7. มะเร็งกล้ามเนื้อลาย
  8. มะเร็งตับ
  9. มะเร็งลูกนัยน์ตา

สำหรับอาการแสดงของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง  เช่น

มะเร็งเม็ดเลือดขาว จะมีอาหาร ซีด ไข้ และเลือดออกง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลือดออกตามใต้ผิวหนังโดยจะเห็นเป็นจ้ำเลือดตามแขน ขา และนอกจากนี้ยังพบว่า มีตับ ม้าม และต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งสาเหตุที่มีอาการเหล่านี้เนื่องจากในไขกระดูกตามปกติ จะเป็นแหล่งกำเนิดของเซลล์ต่างๆ คือ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด ไขกระดูกนี้จะอยู่ในโพรงกระดูกโดยสังเกตได้จากเนื้อเยื่อแดงอยู่ในโพรงกระดูก โดยไขกระดูกนี้จะมีอยู่ในกระดูกเกือบทุกชิ้น

ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว  ไขกระดูกเหล่านี้จะเต็มไปด้วยเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว  ดังนั้นทำให้ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดปกติได้  เช่น  เม็ดเลือดแดงจะมีน้อยลง  จะมีอาการซีด  เกร็ดเลือดต่ำก็ทำให้เลือดออกได้ง่าย  รวมทั้งเม็ดเลือดขาวต่ำทำให้ติดเชื้อได้ง่าย  เพราะเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็นมะเร็งไม่สามารถจับกินเชื้อโรคได้

อาการที่ตับ ม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต เกิดจากเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวแพร่กระจายไปตามตับ ม้าม และต่อมน้ำเหลือง ถึงอย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีอาการซีดหรือมีจุดเลือดออกตามเนื้อตามตัวทุกรายไม่ได้เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวทั้งหมด ยังมีสาเหตุอื่นๆที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการซีด เช่น การขาดธาตุเหล็ก โรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรม โดยทั้งสองโรคนี้ไม่ใช่มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือสาเหตุอื่นๆทำให้จุดเลือดออกตามตัวจากเกร็ดเลือดต่ำซึ่งมีสาเหตุอื่นๆ อีกมาก

เนื้องอกในสมอง ถ้ามีเนื้องอกในสมองก็จะเกิดอาการจากการกดเบียดของเนื้อสมองจากก้อนเนื้องอก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ เนื่องจากความดันในกะโหลกศีรษะสูง โดยที่อาการปวดศีรษะมักจะพบในตอนเช้า และมีอาเจียนร่วมด้วย ยังมีอาการแขน ขาอ่อนแรง อาการซึมหรือมีอาการชักร่วม ผู้ป่วยเด็กเล็กๆ ที่ต่ำกว่า 1 ปี ที่มีเนื้องอกในสมองอาจจะพบว่ามีศีรษะโตกว่าปกติ กระหม่อมโปร่งตึง แต่อย่างไรก็ตามเด็กที่ปวดศีรษะทุกรายจะเป็นเนื้องอกในสมอง

มะเร็งของระบบประสาทและมะเร็งอื่นๆ ที่มาด้วยเรื่องก้อน เช่น มะเร็งก้อนในช่องท้องจากมะเร็งตับ ไต ต่อมหมวกไต อาการที่พบบ่อย คือมีก้อนที่ท้องนอกจากนี้ มะเร็งกล้ามเนื้อลายและกระดูกก็พบว่ามีก้อนตามแขน ขา ถ้าคลำพบก้อนต้องพบแพทย์โดยเร็ว เด็กเล็กๆ อายุต่ำกว่า 1 ปี พบว่าจะเป็นมะเร็งจอภาพของลูกนัยน์ตา ได้บ่อย สังเกตได้ว่าอาการเริ่มแรกจะเห็นเป็นสีขาวอยู่ในรูม่านตา หรืออาจจะมีตาเขร่วมด้วย

เด็กที่เป็นมะเร็งจะรักษาได้อย่างไร

ปัจจุบันการแพทย์แผนใหม่ได้เจริญก้าวหน้าไปเป็นอันมาก โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดนั้น การรักษาที่ถูกต้องเด็กจะสามารถมีชีวิตตลอดได้เกือบ 50% เด็กเหล่านี้จะมีชีวิตปกติ หรือเกือบปกติเหมือนเด็กทั่วๆไป แต่ถ้าเป็นโรคนี้ และรักษาไม่หาย อาจเสียชีวิตภายใน 1-2 ปี มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง มะเร็งของไต มะเร็งของระบบประสาท โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ก็ได้ผลดีเช่นกัน เฉพาะฉะนั้นจะเห็นว่า มะเร็งในเด็กนั้นรักษาได้ผลดีพอสมควรอัตราการรอดชีวิตในโรคมะเร็งต่างๆ ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามี อัตราการรอดชีวิตขึ้นเป็นอย่างมาก สำหรับในเรื่องของ การรักษาโดยส่วนใหญ่จะใช้ วิธีการรักษา 3 ประการด้วยกัน คือ

  1. การผ่าตัด ในรายที่มะเร็งมาเรื่องก้อน
  2.  การให้เคมีบำบัด ซึ่งผู้ป่วยโรคมะเร็งในเด็กทุกรายจำเป็นต้องได้รับ
  3. การฉายแสง ซึ่งในปัจจุบันเทคนิคการฉายแสงดีกว่าเดิมเป็นอย่างมาก โดยเครื่องมือการฉายแสงสามารถยิงรังสีลงตรงไปที่ก้อนเนื้องอก โดยที่ไม่ทำลาย เนื้อเยื่ออวัยวะข้างเคียง

 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook Tianxian herb
ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


รู้จักโรคมะเร็ง

มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับการดูแล

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.