ปัจจัยเสี่ยงและวิธีการรักษา มะเร็งไต

18-Oct-2023     อ่าน : 264 คน


มะเร็งไต ปัจจัยเสี่ยงและวิธีการรักษา

 

ปัจจัยเสี่ยงและวิธีการรักษา มะเร็งไต 

เนื้องอกที่ไต เป็นเรื่องที่พบบ่อยมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน เนื่องมาจากการเข้าถึงการตรวจสุขภาพที่ง่ายขึ้น เครื่องมือทางรังสีในการวินิจฉัยทันสมัย การตรวจคัดกรองหรือการวินิจฉัยจึงแม่นยำมากขึ้น ซึ่งเนื้องอกที่พบนั้นมีทั้งที่ไม่ใช่มะเร็งและเนื้องอกมะเร็ง

เนื้องอกที่ไตชนิดไม่ร้ายแรงที่พบบ่อย คือ “ถุงน้ำที่ไต” ส่วนใหญ่ไม่อันตราย มักพบจากการตรวจอัลตร้าซาวด์โดยบังเอิญ ไม่ต้องทำการรรักษา แต่ยังมีความจำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงของมะเร็งไตที่ซ่อนอยู่ในถุงน้ำที่ไตบางชนิด ซึ่งทำการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะสามารถแยกถุงน้ำได้ออกเป็นหลายชนิด และสามารถแยกก้อนเนื้อออกได้ชัดเจน

เนื้องอกที่ไตชนิดไม่ร้ายแรงอื่นๆ ที่พบบ่อยคือ Angiolipoma (AML) เนื้องอกของไขมันหลอดเลือดและกล้ามเนื้อเรียบ เนื้องอกชนิดนี้มักจะมีการฉีกขาดของหลอดเลือดเมื่อขนาดใหญ่กว่า 4 ซม. ทำให้เกิดอันตรายและภาวะแทรกซ้อนได้ จึงต้องทำการักษาโดยการผ่าตัดออกหรือทำให้ฝ่อลง แต่ถ้าขนาดเล็กใช้วิธีการเฝ้าระวังขนาดเป็นระยะๆ โดยอัลตร้าซาวด์

เนื้องอกที่ไต “มะเร็งไต” เป็นโรคที่พบได้ไม่มากเมื่อเทียบกับมะเร็งอื่นๆ โดยพบผู้ป่วยมะเร็งไต 1.6 รายต่อประชากรแสนคน โดยพบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง และมักพบโรคนี้ในผู้ป่วยอายุ 50-70 อย่างไรดี แม้ว่าจะพบโรคมะเร็งไตน้อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีอันตราย เซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวอย่างควบคุมไม่ได้และหากไม่ได้รับการรักษาก็จะแพร่กระจายออกไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอดและกระดูก

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งไต

ปัจจัยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคมะเร็งไตแต่พบว่าปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้เพิ่มโอกาสในการเกิดโรคได้

  •  อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งเสี่ยงเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มอายุที่พบมากคือช่งอายุ 50-70 ปี
  •  เพศ พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 เท่า
  •  สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคมะเร็งไตมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งไตมาจากสูบบุหรี่
  •  โรคอ้วน
  •  โรคความดันโลหิตสูง
  •  ผู้ป่วยภาวะไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  •  มีโรคทางพันธุกรรมบางอย่าง ซึ่งเป็นความผิดปกติหรือกลายพันธุ์ของยีนบางชนิด
  •  มีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งไต
  •  การสัมผัสสารเคมีหรือสารพิษบางชนิดต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น แร่ใยหิน และแคดเมียม

อาการของโรคมะเร็งไต

โรคมะเร็งไตในระยะแรกมักไม่มีอาการใดๆ พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคไตพบระหว่างการตรวจสุขภาพประจำปี หรือการตรวจร่างกายเพื่อภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง จนก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น อาการของโรคจึงปรากฏให้เห็น ได้แก่

  •  ปัสสาวะมีเลือดปน โดยสีของปัสสาวะจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู แดง หรือ น้ำตาล

  •  ปวดบริเวณบั้นเอว

  •  คลำพบก้อนบริเวณชายโครง

  •  อ่นเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

  •  มีไข้เรื้อรัง

การวินิจฉัยโรคมะเร็งไต

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งไตได้โดยการสอบถามอาการ ประวัติครอบครัวและประวัติการเจ็บป่วย ร่วมกับตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ได้แก่

  •  การตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ
  •  การตรวจภาพไตด้วยการอัลตร้าซาวด์, การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อหาก้อนเนื้องอกหรือความผิดปกติอื่นๆ ในไต ซึ่งการตรวจภาพไตมักให้ข้อมูลที่เพียงพอว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งหรือไม่โดยไม่จำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื้อ
  •  การตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) สำหรับผู้ป่วยบางรายที่การตรวจด้วยภาพไม่ชัดเจนเพียงพอ แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อจากก้อนเนื้องอกหรือบริเวณที่สงสัยมาตรวจ
  •  ในกรณีที่พบเซลล์ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินระยะของโรค เช่น เอกซเรย์ทรวงอก และตรวจกระดูก (Bone scan) เพื่อดูว่ามะเร็งลุกลามไปยังปอดและกระดูกหรือไม่ และวางแผนการรักษ่ที่เหมาะสม

การรักษาโรคมะเร็งไต

ในการรักษาโรคมะเร็งไตนั้น แพทย์จะกำหนดวิธีการรักษาโดยคำนึงถึงชีวิตและระยะของมะเร็ง รวมถึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เช่น อายุ สุขภาพร่างกายโดยรวม และความต้องการของผู้ป่วย โดยแนวทางหลักในการรักษามะเร็งไต ได้แก่ การผ่าตัด การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด รังสีรักษา การรักาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง และการให้ยาเคมีบำบัด

การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักที่ช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดได้ในกรณีที่มะเร็งยังไม่แพร่กระจายออกนอกไต  โดยสามารถทำได้ 2 ลักษณะ ขึ้นอยู่อยู่กับระยะ ขนาด และตำแหน่งของก้อนมะเร็ง

1. การผ่าตัดเอาเนื้อไตออกทั้งหมด (Radical nephrectomy) เป็นการตัดไตข้างใดข้างหนึ่งออกทั้งหมด และอาจรวมถึงบริเวณโดยรอบซึ่งได้แก่ ต่อมหมวก ต่อมน้ำเหลือง และเนื้อเยื่อไขมัน
2. การผ่าตัดเอาเนื้อไตออกบางส่วน (Partial nephrectomy) เป็นการผ่าตัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้องอกร้ายออก ใช้ในกรณีที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็ก และแพทย์พิจารณาแล้วว่าเนื้อไตส่วนที่เหลือยังสามารถทำหน้าที่

ทั้งนี้การผ่าตัดรักษามะเร็งไตทำได้ 2 วิธี คือ

1. การผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบดั้งเดิม วิธีนี้ผู้ป่วยอาจเสียเลือดและเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแผลผ่าตัดที่มีขนาดใหญ่ รวมถึงต้องใช้เวลาพักฟื้นนาน 8-12 สัปดาห์
2. การผ่าตัดแบบแผลเล็กด้วยวิธีการส่องกล้อง (Laparoscopy) หรือการใช้แขนกลช่วยผ่าตัดด้วยระบบดาวินชี (Robotic-Assisted Da Vinci Surgical System) ซึ่งเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และปลอดภัยให้กับการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนในบริเวณที่เข้าถึงได้ยาก โดยเฉพาะไตซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ลึกและมีลำไส้ซ้อนอยู่ ทั้งยังอยู่ใกล้หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ ทำให้ศัลยแพทย์ต้องใช้ความแม่นยำอย่างมาก นอกจากนี้แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดยังให้ผลดีกับผู้ป่วย คือ

  •  ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยลง ผู้ป่วยจึงเสียเลือดน้อย
  •  ลดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด เช่น ลดการติดเชื้อของแผลผ่าตัด ลดการกระทบกระเทือนต่ออวัยวะหรือเนื้อเยื่ออื่นรอบๆ ไต
  •  ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อยลง ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลน้อยลง และฟื้นตัวเร็วขึ้น
  •  รอยแผลเป็นจากการผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก

การรักษาด้วยภูมิคุ้มบำบัด (Immunotherapy หรือ Biological Therapy) เป็นการรักษาโดยอาศัยหลักการทำงานของภูมิคุ้มกัน คือ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะถูกกระตุ้นให้ทำการกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นออกจากร่างกาย โดยแพทย์จะใช้ยาที่ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันเพื่อให้สามารถกำจัด หรือควบคุมเซลล์มะเร็งในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีจะใช้ในกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายออกนอกไตหรือมะเร็งไตที่กลับมาเป็นซ้ำ

รังสีรักษา เป็นการใช้รังสีพลังงานสูงทำลายสารพันธุกรรม (DNA) ภายในเซลล์มะเร็งเพื่อหยุดยั้งการเจริญเติบโตและทำให้เซลล์มะเร็งตายไปในที่สุด รังสีรักษามักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพจนไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือใช้ร่วมกับวิธีการรักษาอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากโรค เช่น อาการปวด มีเลือดออก หรืออาการอื่นๆ ที่เกิดจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะการแพร่กระจายไปยังกระดูกและสมอง

การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง(Target Therapy) เป็นการรักษาโดยให้ยาหรือสารไปยับยั้งกระบวนการส่งสัญญาณระดับเซลล์ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเจริญเติบโตและแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง โดยปัจจุบันยาที่ใช้มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งทำให้มะเร็งแพร่กระจาย และกลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกลไกภายในเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของมะเร็ง

การให้ยาเคมีบำบัด เป็นการให้ยาเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยมะเร้งไตมักไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัด วิธีนี้จึงไม่ใช่วิธีหลักในการรักษา แต่แพทย์อาจเลือกใช้หากใช้วิธีรังสีรักษาและการรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งแล้วไม่ได้ผล

การป้องกันโรคมะเร็งไต

โรคมะเร็งไตสามารถป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค อาทิ

  •  งดสูบบุหรี่
  •  ควบคุมน้ำหนัก
  •  ควบคุมความดันโลหิต
  •  หลีกเลี่ยงหรือป้องกันตัวเองจากสารเคมีหรือสารพิษที่เป็นสารก่อมะเร็ง โดยการสวมหน้ากากป้องกัน

     อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมะเร็งไตยังเกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่น ความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพราะยิ่งตรวจพบเร็วก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคให้หายขาดมากขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูล นพ.ธัชชัย พิพิธพันธ์พิพิท ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ ศูนย์โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลนนทเวช

 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook Tianxian herb
ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


รู้จักโรคมะเร็ง

มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับการดูแล

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.