ก้อนเนื้อที่เต้านม กับการผ่าตัดรักษา

12-Feb-2020     อ่าน : 1104 คน


 

ก้อนเนื้อที่เต้านม กับการผ่าตัดรักษา

ผู้หญิงกับการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง น่าจะเป็นพฤติกรรมที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่บ่อยครั้งเรากลับพบว่า เมื่อคนไข้คลำเจอก้อนที่เต้านมกลับไม่ยอมมาพบแพทย์เพราะกลัวจะเป็นโรคร้าย และมักเข้าใจว่าการรักษามะเร็งเต้านมจะต้องผ่าตัดเต้านมทิ้งทั้งเต้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งจริงๆ แล้ว หากก้อนเนื้อที่พบเป็นเนื้อร้ายจริง การผ่าตัดเต้านมก็มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ที่สำคัญ! หากตรวจพบก้อนเนื้อตั้งแต่ยังมีขนาดเล็ก คนไข้ก็จะมีทางเลือกในการรักษาได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

ผู้หญิงแต่ละช่วงวัย ควรใส่ใจตรวจเต้านมตัวเองอย่างไรบ้าง?

  • ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรคลำเต้านมด้วยตัวเองเดือนละครั้ง หลังหมดประจำเดือน 7 วัน และควรตรวจโดยแพทย์เป็นประจำทุกๆ 3 ปี
  • ผู้หญิงที่อายุ 20 ปี แต่ไม่เกิน 35 ปี สามารถตรวจเฉพาะอัลตราซาวนด์(Ultrasound) เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 1 ครั้ง
  • ผู้หญิงที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจแมมโมแกรม (Digital mammogram) และอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) อย่างน้อย 1 ครั้ง
  • ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจแมมโมแกรม (Digital mammogram) และอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ปีละครั้ง

คลำพบก้อน จะรู้ได้ไงว่าแบบไหนใช่หรือไม่ใช่ "มะเร็ง"

ผู้หญิงบางคนที่คลำพบก้อนแล้วไม่ยอมไปพบแพทย์ อาจเกิดจากความชะล่าใจคิดว่าคงไม่ร้ายแรงอะไร ในขณะที่บางรายก็เกิดความวิตกกังวลกลัวว่าก้อนที่เนื้อที่พบนั้นอาจเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งความแตกต่างที่สามารถสังเกตได้เอง คือ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของก้อน โดยถ้าเป็นก้อนเนื้องอกเต้านมชนิดธรรมดามักจะเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ โตขึ้นเพียงเล็กน้อย มักโตขึ้นช่วงใกล้รอบเดือนและจะเล็กลงหลักจากรอบเดือนมาแล้ว ส่วนเซลล์มะเร็งเต้านมนั้นจะโตขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาอันสั้น!! นอกจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อให้แพทย์ตรวจพบความเสี่ยงได้ก่อนที่เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจาย การป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่คุณก็สามารถทำได้ง่ายๆ คือ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน สวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง และหากสังเกตพบความผิดปกติก็ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจว่าเป็นโรคใด จะได้รีบทำการรักษาให้ถูกโรค

"ก้อนที่เต้านมชนิดธรรมดา" มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง

  • ไฟโบรซิสติค (Fibrocystic Disease) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุด มักแสดงอาการคือมีก้อนโตขึ้นและเจ็บเต้านมก่อนจะมีรอบเดือน แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อรอบเดือนหมด
  • ไฟโปรอดีโนมา (Fibroadenoma) เป็นก้อนเนื้อแข็งๆ ขนาดประมาณ 1-5 เซนติเมตร มักไม่มีอาการเจ็บแต่จะรู้สึกคัดเต้านมบ้าง หากคลำเต้านมช่วงก่อนมีรอบเดือนจะรู้สึกเหมือนว่ามันกลิ้งไปมาได้
  • เซลล์ไขมันในเต้านมถูกทำลาย (Fat Necrosis) เกิดจากการที่เต้านมได้รับการกระแทกรุนแรงและมีเลือดออกในเต้านม มักพบว่าผิวหนังด้านบนมีลักษณะช้ำเลือดช้ำหนอง ซึ่งอาการนี้สามารถหายเองได้หรือผ่าตัดเอาออกได้
  • ซีสต์ (Cysts) คือเนื้องอกที่เป็นลักษณะถุงน้ำ ซึ่งแพทย์จะรักษาโดยการเจาะเอาของเหลวออก หากของเหลวนั้นไม่มีสีหรือออกเป็นสีเขียวก็ไม่ต้องรักษาเพิ่มเติม แต่หากของเหลวมีเลือดเจือปนอาจต้องตรวจหามะเร็งเพิ่มเติม

แม่นยำและมั่นใจกว่า ด้วยการวินิจฉัยโดยแพทย์

เพราะก้อนที่พบบริเวณเต้านมอาจใช่หรือไม่ใช่เซลล์มะเร็ง ดังนั้น เพื่อการรักษาที่ถูกต้องตรงตามรอยโรค ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด โดยการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมนั้น นอกจากการตรวจแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์แล้ว แพทย์จะทำการซักประวัติเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย พร้อมทั้งเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจเพื่อผลที่แม่นยำกว่า

หากพบก้อนเนื้องอกที่เต้านมชนิดธรรมดา ควรรักษาวิธีใด

กรณีที่ผลการตรวจชี้ให้เห็นว่าเป็นเพียงก้อนเนื้องอกธรรมดา แพทย์มักแนะนำให้ผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก โดยใช้การผ่าตัดวิธีฉีดยาชาเฉพาะที่ เพราะก้อนเนื้องอกจะไม่สามารถหายไปเองได้ หากปล่อยไว้ก็จะยิ่งทำให้ก้อนเนื้อเพิ่มขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ และที่สำคัญ หากรักษาตั้งแต่ก้อนเนื้อยังไม่ใหญ่จนเกินไป คนไข้ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องแผลจากการผ่าตัดที่ทำให้ดูไม่สวยงาม

เปลี่ยนความเชื่อ! "มะเร็งเต้านม" อาจไม่ต้องผ่าตัดเต้านมทิ้งทั้งหมด

ในการผ่าตัดเต้านมนั้นมีหลายวิธี คนไข้อาจไม่ต้องตัดเต้านมทิ้งทั้งเต้าและยังให้ผลการรักษาที่ดีเหมือนกัน ซึ่งจะเหมาะกับผู้ป่วยที่เซลล์มะเร็งยังมีขนาดเล็ก ส่วนผู้ที่มีก้อนมะเร็งค่อนข้างใหญ่อาจต้องผ่าตัดออกทั้งเต้าแล้วเสริมสร้างเต้านมใหม่แทน หรืออาจใช้ยาเคมีบำบัดในการลดขนาดของเซลล์มะเร็งลงก่อน แล้วค่อยพิจารณาว่าสามารถผ่าตัดแบบสงวนเต้าได้หรือไม่ โดยวิธีการผ่าตัดรักษา “มะเร็งเต้านม” นั้น แพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้

  • ระยะของมะเร็ง ก่อนเริ่มการรักษาเราต้องมาดูก่อนว่า… ก้อนมะเร็งของคนไข้อยู่ในระยะไหน ถ้ายังไม่รุนแรงหรืออยู่ในระยะเริ่มต้น ก็สามารถเลือกการตัดก้อนมะเร็งโดยยังเก็บเต้านมเอาไว้ได้
  • อายุของคนไข้ สำหรับคนไข้ที่อายุยังน้อย มักให้ความสำคัญกับเรื่องความสวยงาม หรือมีการเข้าสังคมพบเจอผู้คนบ่อยๆ แต่สำหรับคนไข้ที่อายุมากแล้ว อาจให้ความสำคัญกับเรื่องความสวยงามน้อยกว่า ก็สามารถเลือกเป็นการผ่าตัดเต้านมออก
  • มีโรคร่วมหรือไม่ คนไข้บางรายให้ความสำคัญกับความงาม แต่มีโรคร้าย เช่น โรคหัวใจ โรคเลือด ซึ่งเป็นข้อจำกัดให้ไม่สามารถเลือกผ่าตัดวิธีที่ใช้เวลานานๆ ได้ จึงต้องเลือกวิธีที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล

 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook Tianxian herb
ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับการดูแล

มะเร็งกับอาหาร

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.