การรักษามะเร็งกระจายไปสมอง

13-Sep-2019     อ่าน : 4021 คน


 

การรักษามะเร็งกระจายไปสมอง

การรักษามะเร็งกระจายไปสมอง เป็นการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งจากส่วนอื่นของร่างกายโดยมารวมตัวกันที่สมอง มะเร็งหลักที่มักมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่สมอง คือ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งผิวหนังชนิด melanoma เป็นต้น และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่สมอง บางครั้งเกิดขึ้นใช้เวลาเป็นเดือนหรือหลายปี หลังจากการวินิจฉัยมะเร็งหลัก ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาทีหลากหลายที่ช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่สมองได้

อาการและอาการแสดง

ในบางครั้งผู้ป่วยไม่มีอาการหรือแสดงอาการที่ผิดปกติมาก่อน ซึ่งสามารถตรวจพบได้จากการตรวจร่างกายหรือภาพเอกซเรย์ทั่วไป แต่อาการที่พบมากที่สุดคือ อาการปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ตาเห็นภาพไม่ชัดหรือภาพซ้อน ความจำ คำพูด หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น บางครั้งอาจมีอาการทางระบบประสาท เช่น อาการชาหรืออ่อนแรงแขนขา หรือการทรงตัวที่ผิดปกติไป ซึ่งอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยได้ทันท่วงที

การรักษา

การรักษาการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่สมอง เพื่อเป็นการควบคุมอาการของโรคและเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ได้มีอายุที่ยืนยาวขึ้น

การรักษาโดยรังสีรักษา

รังสีรักษาเป็นการรักษาโดยฉายรังสี ซึ่งกลไกการรักษาจะแตกต่างไปจากการได้รับยาเคมีบำบัดที่ถูกจำกัดโดยโครงสร้างกันระหว่างเลือดและสมอง (blood-brain barrier) โดยรังสีจะเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง โดยการฉายรังสีช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ดีกว่าในกรณีที่มีการแพร่กระจายไปที่สมอง

การรักษาโดยการผ่าตัด

การผ่าตัดมักจะทำการผ่าตัดในกรณีที่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่สมองเพียงก้อนเดียว ซึ่งสามารถช่วยลดอาการที่เกิดจากก้อนได้ เช่นการลดความดันในสมอง และที่สำคัญการผ่าตัดยังได้ชิ้นเนื้อออกมาตรวจเพิ่มเพื่อทราบชนิดของเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย

การรักษาโดยยาเคมีบำบัด

การรักษาโดยยาเคมีบำบัด เป็นการรักษาด้วยยาที่ทำลายเซลล์มะเร็ง แต่ยาเคมีบำบัดถูกจำกัดด้วยโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมอง (blood-brain barrier) แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีตัวยาชนิดใหม่ๆที่สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมอง (blood-brain barrier) ได้

ถึงแม้ว่าการรักษาการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่สมองจะเป็นการรักษาที่ไม่หายขาด แต่เป็นการรักษาโดยการฉายรังสี เพื่อหวังควบคุมการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่สมอง ให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้นานมากขึ้นเป็นหลายเดือนหรือปี ซึ่งการรอดชีวิตนั้นยังขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งหลักด้วยว่าเป็นมะเร็งชนิดใด

การฉายรังสีสำหรับการรักษาการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่สมอง

รังสีรักษาเป็นการใช้รังสีมารักษาโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ซึ่งลำรังสีจะเกิดมาจากเครื่องเร่งอนุภาค ที่เรียกว่า Linear accelerator หรือว่าเครื่อง Linac การฉายรังสีนั้นเป็นการรักษาที่ไม่เจ็บและยังใช้เวลาในการรักษาในแต่ละครั้งเพียงแค่ไม่กี่นาทีอีกด้วย

ก่อนการฉายรังสีทุกครั้งจะต้องมีการวางแผนและจำลองการฉายรังสี (Simulation) โดยมีเครื่องเอกซเรย์ (x-ray) หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) มาช่วยในการวางแผนและจำลองการฉายรังสี โดยผู้ป่วยจะต้องอยู่ในท่าเดิมทุกวันตลอดการฉายรังสี และมีการสวมหน้ากากพลาสติก เพื่อให้ได้ความถูกต้องในทุกๆวันที่ฉายรังสีและเพื่อการปิดเส้นขอบเขตไว้ที่หน้ากากแทนบนหน้าผู้ป่วย

โดยปกติการฉายรังสีสำหรับการรักษาการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่สมอง จะฉายรังสีบริเวณสมองทั้งหมดโดยฉายรังสีทุกวันวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เป็นระยะเวลาสองถึงสามสัปดาห์ แต่ในบางกรณีมีการเลือกใช้เทคนิคที่เรียกว่า Stereotactic radiosurgery (SRS) คือ มีการฉายรังสีเพียง 1 ครั้ง โดยที่ใช้ปริมาณรังสีมาก ซึ่งจะเลือกใช้ในกรณีที่มีก้อนมะเร็งที่มีขนาดเล็กเท่านั้น

โดยในบางครั้งมีการรักษาร่วมกันระหว่างการฉายรังสีบริเวณสมองทั้งหมด และ Stereotactic radiosurgery (SRS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา โดยลำรังสีที่ฉายไปยังตำแหน่งที่ต้องการรักษานั้นจะถูกกำหนดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยกำหนด ให้ลำรังสีหลีกเลี่ยงอวัยวะที่สำคัญเช่น ดวงตาหรือสมองส่วนที่ยังปกติอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี

  • อาการอ่อนเพลีย เป็นผลข้างเคียงที่เกิดบ่อยที่สุด ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงกลางถึงสัปดาห์สุดท้ายของการรักษา
  • บางครั้งการฉายรังสีอาจทำให้ความจำระยะสั้นลดลงได้ แต่มักไม่มีผลกับเส้นประสาทในสมอง
  • การฉายรังสีบริเวณสมอง สามารถทำให้หนังศีรษะเกิดการระคายเคืองได้ รวมทั้งเส้นผมบริเวณที่ฉายรังสีร่วง ซึ่งเกิดจากการฉายรังสีบริเวณนั้น โดยที่เส้นผมสามารถขึ้นมาได้ใหม่หลังจากฉายรังสีครบ แต่อาจจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนเดิม

ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของการรักษา ซึ่งผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ซึ่งจะมีแพทย์และพยาบาลคอยติดตามอาการอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมียาที่ช่วยลดความบวมของสมอง หรือ steroid ซึ่งสามารถให้ได้ก่อนเริ่มการฉายรังสี และที่สำคัญหากพบอาการข้างเคียงที่รุนแรงควรรีบมาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

การดูแลตัวเองระว่างการฉายรังสี

การดูแลตัวเองในระหว่างการฉายรังสีถือเป็นเรื่องสำคัญ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับร่างกาย และการพักผ่อนที่เพียงพอ นอกจากนี้การมาพบแพทย์ตามนัด หรือการสอบถามหรือปรึกษาถึงปัญหาที่ข้องใจถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเพื่อได้คำตอบและแนวทางที่ถูกต้องไปใช้ในการปฏิบัติตนและดูแลร่างกาย โดยสามารถขอคำแนะนำเรื่องอาหารเสริมจากแพทย์ผู้รักษาได้ในระหว่างการฉายรังสี ข้อสำคัญควรแจ้งแพทย์และพยาบาลเกี่ยวกับยาหรือวิตามินที่ทานอยู่เพื่อแพทย์จะได้แนะนำว่าสามารถให้ร่วมกับการฉายรังสีได้หรือไม่

นอกจากนี้การรับมือและเข้าใจถึงโรคที่เป็นอยู่ ยังเป็นการดูแลตัวเองได้ดีอย่างหนึ่ง รวมทั้งการสนับสนุนและการดูแลจากครอบครัว หรือการเข้ากลุ่มบำบัด ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกันการดูแลผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสีจากการฉายรังสีครบ ควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด ความร้อนหรือเย็นจัดหรือโลชั่น โดยปราศจากแพทย์แนะนำ และควรทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำอุ่นและแชมพูอ่อนๆ (แชมพูเด็ก)

ขอบคุณข้อมูลจาก : สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook Tianxian herb
ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับการดูแล

มะเร็งกับอาหาร

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.