รู้จักมะเร็งลำไส้ใหญ่ - ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

05-Mar-2010     อ่าน : 13753 คน


 


 

รู้จักมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบบ่อย เป็นอันดับ 3 รองลงมาจากมะเร็งปอดและมะเร็งปากมดลูก พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง พบมากขึ้นหลังจากอายุ 50 ปีจากทะเบียนผู้ป่วยมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าปี พ.ศ. 2533 มีผู้ป่วยใหม่โรคนี้ จำนวน 2,507 ราย แต่ในปี พ.ศ.2542 พบเพิ่มเป็น 4,883 ราย และคาดว่าในปี พ.ศ.2552 จะสูงมากกว่า 9,500 ราย

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

  1. เพศ ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าผู้หญิง คนผิวดำจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนผิวขาว แต่คนผิวดำในทวีปแอฟริกากลับมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ต่ำมาก ดังนั้น ความเสี่ยง จึงขึ้นกับว่าอยู่ในประเทศอุตสาหกรรมหรือไม่
  2. อายุ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่พบได้มากหลังอายุ 50 ปี แต่โอกาสเกิดโรคจะมีการเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ หลังอายุ 40 ปี เป็นต้นไป โดยยิ่งอายุมากขึ้นอุบัติการณ์ก็จะสูงขึ้นด้วย
  3. การบริโภคอาหาร ที่อุดมด้วยไขมัน แคลอรี่สูง และมีเส้นใยอาหารต่ำ ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น บางรายงานการศึกษาพบว่า การรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่าง ไหม้เกรียมเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะเมื่อโปรตีนจากเนื้อสัตว์หรืออาหารทะเลถูกความร้อนจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งที่เราเรียกว่า "เฮทเทอโรไซคลิก เอมีน" (heterocyclic amines; HCAs) และสาร "โพลีไซคลิก อะโรเมติก ไฮโดรคาร์บอน" (polycyclic aromatic hydrocarbons; PAHs) ที่สามารถทำลายสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ ที่อยู่ในเซลล์ร่างกายและเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดมะเร็ง
  4. ประวัติการเป็นเนื้องอกชนิดโพลิป ( polyp) ที่ผนังลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ไม่ใช่เนื้องอกที่ร้ายแรง ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดอาการหรืออันตรายใดๆ แต่ถ้าทิ้งไว้นานๆบางชนิดจะกลายเป็นเนื้อร้ายได้
  5. ประวัติพันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เช่น บิดามารดา พี่น้องหรือบุตร โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นมะเร็งชนิดนี้ก่อนอายุ 60 ปี
  6. การสูบบุหรี่ จากการศึกษาพบว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ และเป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราการตายสูงขึ้นด้วย
  7. การดื่มสุรา หรือเบียร์อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  8. ท้องผูก ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ทำให้ของเสียหรือสารก่อมะเร็งค้างอยู่ในลำไส้เป็นเวลานาน พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการและอาการแสดง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มักจะไม่มีอาการให้เห็นในระยะแรก จนกว่าเนื้องอกจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และอาการที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นกับตำแหน่งที่เป็น

อาการที่สังเกตเริ่มต้นได้ มีดังนี้

  1. การถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ เช่น มีอาการท้องผูกสลับท้องเสียผิดไปจากปกติ หรือมีสีดำคล้ายสีถ่าน
  2. ท้องผูกเรื้อรัง หรือมีท้องเสียถ่ายเป็นน้ำเรื้อรังเป็นเดือน
  3. ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือด แบบเป็นบิดเรื้อรังเป็นเดือน หรืออาจถ่ายเป็นเลือดสดๆ แบบริดสีดวงทวาร
  4.  เบื่ออาหาร
  5. น้ำหนักลด
  6. ปวดท้อง ปวดเกร็ง ท้องอืด หรือผายลมลดลง
  7. อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หรือซีดโดยไม่รู้สาเหตุ
  8. อาจคลำก้อนได้ในท้อง

การวินิจฉัยโรค 

การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่นี้ ถ้าสามารถรู้รายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่ง ขนาด ชนิดของเซลล์มะเร็ง ระยะของโรคที่เป็นอยู่ จะช่วยบอกการพยากรณ์ของโรคได้ดีมาก ตัวอย่างเช่น ถ้ามะเร็งก้อนที่เป็นอยู่นั้นยังไม่ลุกลามออกนอกโพรงลำไส้ใหญ่ ยังไม่มีการกระจายสู่ต่อมน้ำเหลือง โอกาสที่จะผ่าตัดรักษาจนหายขาดก็มี และที่สำคัญคืออัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปี (5 year survival rate ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้กันเวลากล่าวถึงมะเร็ง) จะสูงถึง 90% แต่ถ้ามะเร็งลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองแล้ว อัตรารอดชีวิตที่ 5 ปี จะลดเหลือ 65% หรือต่ำกว่านั้น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตอย่างช้าๆ บางรายอาจแฝง อยู่ในร่างกายเกือบ 10 ปี แล้วยังอยู่ในสภาพที่ผ่าตัดรักษาให้หายขาดได้ เพราะมันยังไม่ลุกลามจนเกินขีดความสามารถในการรักษา 

การตรวจคัดกรอง (screening) ซึ่งมีหลายวิธี ที่แตกต่างกัน เช่น

  1. การตรวจทวารหนักด้วยมือ (digital rectal examination) วิธีนี้แพทย์จะใส่ถุงมือแล้วทาเจลหล่อลื่น ที่นิ้วชี้ก่อสอดนิ้วเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจคลำดูว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ วิธีนี้ใช้ตรวจหามะเร็งส่วนลำไส้ตรงและทวารหนักเท่านั้น
  2. การตรวจหาเลือดที่แฝงมากับอุจจาระ (fecal occult blood test) เป็นการตรวจอุจจาระด้วยกระบวนการทางเคมีว่ามีเลือดปน อยู่ในอุจจาระหรือไม่ เป็นการตรวจทางอ้อม และเนื่องจากมะเร็งไม่มีเลือดออกทุกกรณีไป การตรวจไม่พบเลือด จึงไม่ได้หมายความว่าไม่เป็นมะเร็ง ขณะเดียวกัน การตรวจพบเลือดก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นมะเร็งทุกรายไป คืออาจเป็นแค่ริดสีดวงทวารหนักก็ได้ หรือบางคนรับประทานอาหารบางอย่างหรือการรับประทานยาบำรุงที่มีธาตุเหล็กอยู่ด้วย เป็นต้น
  3. การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจด้านพยาธิวิทยา เพื่อหาเซลล์มะเร็ง แต่เดิมจะเป็นการใช้กล้องแบบตรงและแข็งมีความยาวเพียง 25 เซนติเมตร เรียกว่า กล้องส่องลำไส้ใหญ่ซิกมอยด์ (sigmoidoscope) เวลาสอดเข้าไปทางทวารหนัก ส่วนใหญ่จะไม่เจ็บ แต่จะรู้สึกอึดอัดอยากถ่ายอุจจาระ ก่อนส่องจะต้องสวนอุจจาระออกให้หมดจึงจะตรวจดูได้ตลอดลำไส้ตรง และลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ ปัจจุบันได้พัฒนากล้องจนเป็นกล้องขนาดเล็กลงที่งอโค้งได้ตามการบังคับ สามารถดูโพรงลำไส้ใหญ่ได้ทั้งหมด เรียกว่า กล้องส่องลำไส้ใหญ่ (colonoscope) กล้องนี้จะต่อเข้ากับ กล้องถ่ายภาพวิดีโอ ทำให้มองเห็นโพรงลำไส้อย่างชัดเจน หากพบชิ้นเนื้อที่ผิดปกติ ก็สามารถตัดออกมาส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูว่าเป็นเนื้อร้ายหรือเนื้องอกธรรมดา หรือเป็นการอักเสบระหว่างการตรวจ วิธีนี้มักจะให้ยากล่อมประสาทเพื่อทำให้ผู้ถูกตรวจผ่อนคลาย ไม่กังวล ไม่รู้สึกเจ็บ หรือบางทีไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร จนเสร็จสิ้นกระบวนการแล้วก็มี
  4. การสวนแป้งแบเรียมเพื่อการถ่ายภาพรังสี (barium enema) วิธีนี้รังสีแพทย์จะใส่แป้งน้ำที่เป็นสารทึบแสงเข้าทางทวารหนักผสมกับอากาศ แล้วถ่ายภาพรังสีเป็นระยะๆ เพื่อดูว่ามีความผิดปกติหรือไม่ อย่างไร การรักษา : การผ่าตัด ซึ่งเป็นวิธีการรักษาหลัก โดยการตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งรวมทั้งเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงออก จากนั้นนำลำไส้ส่วนที่ดีมาต่อกัน ส่วนมะเร็งลำไส้ตรงที่อยู่ใกล้ทวารหนักอาจจำเป็นต้องตัดทวารหนักออก และทำทวารเทียม(colostomy) โดยการนำลำไส้มาเปิดออกที่ผิวหนังหน้าท้องของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะถ่ายอุจจาระผ่านทางหน้าท้องและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ การให้ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยที่มีก้อนมะเร็งลุกลามสู่อวัยวะข้างเคียง หรือมีเซลล์มะเร็ง แพร่กระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลือง จำเป็นต้องได้รับเคมีบำบัดหลังจากการผ่าตัด เพื่อลดโอกาสของการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง

มีหลักการรักษาตามระยะของโรค ดังนี้

  • ระยะ 0 รักษาโดยตัดติ่งเนื้อออกไประหว่างการส่องกล้อง จะไม่มีการผ่าตัดอื่นเพิ่มเติม ยกเว้นในกรณีที่ไม่สามารถตัดติ่งเนื้อออกไปได้หมด
  • ระยะ 1 รักษาโดยการผ่าตัดก้อนมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองออกไป
  • ระยะ 2  รักษาโดยการผ่าตัด  และบางรายอาจต้องให้เคมีบำบัดร่วมด้วย
  • ระยะ 3 รักษาโดยการผ่าตัดกำจัดเอาเนื้อร้ายออกร่วมกับการให้เคมีบำบัด
  • ระยะ 4 รักษาโดยเคมีบำบัด ร่วมกับการผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกในอวัยวะที่มะเร็งแพร่กระจายไปถึง ถ้าทำได้ ในผู้ป่วยบางรายการอาจเป็นการผ่าตัดเพื่อแก้ไขอาการต่างๆ

 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook Tianxian herb
ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


รู้จักโรคมะเร็ง

มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับการดูแล

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.