รู้จักมะเร็งโพรงจมูก

05-Mar-2010     อ่าน : 15083 คน


 

 

รู้จักมะเร็งโพรงจมูก

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของรู้จักมะเร็งโพรงจมูก แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเพิ่มอุบัติการณ์ของรู้จักมะเร็งโพรงจมูก ได้แก่

  1. พันธุกรรม จากการที่พบว่ารู้จักมะเร็งโพรงจมูกมีความชุกสูงเฉพาะในบางเขตภูมิศาสตร์ เช่น ในประเทศจีนตอนใต้ และส่วนอื่นๆ ที่ชาวจีนอพยพไป ทำให้มีการศึกษาว่าพันธุกรรมอาจเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดมะเร็งชนิดนี้
  2. ไวรัส เป็นที่ยอมรับกันว่าไวรัสเอปสไตน์บาร์ (Epstein-Barr virus - EBV) มีส่วนสำคัญต่อการเกิดมะเร็งหลังรู้จักมะเร็งโพรงจมูก โดยศึกษาพบว่าผู้ป่วยรู้จักมะเร็งโพรงจมูกจะมีสารภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนี้ ในปริมาณที่สูงกว่าประชากรทั่วไปที่มีสุขภาพดี
  3. อาหาร อาหารที่มีสารก่อมะเร็งไนโตรซามีนปนเปื้อนอยู่ในสารอาหาร เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม อาหารปิ้ง ย่าง รมควัน เมื่อสูดดมสารนี้เข้าไปสัมผัสกับเยื่อบุของ nasopharynx อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ DNA ของเซลล์เยื่อบุผิว จนเกิดการกลายพันธุ์ (mutation) ของเซลล์ได้ พบว่าในมณฑลกวางตุ้งซึ่งมีอุบัติการณ์ของรู้จักมะเร็งโพรงจมูกในอัตราสูงนั้น ประชาชนนิยมบริโภคปลาหมักเค็มกันมากกว่าชาวจีนในแถบอื่น
  4. สิ่งแวดล้อม มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมหลายอย่างที่อาจมีผลต่อการเกิดรู้จักมะเร็งโพรงจมูก ได้แก่ ฝุ่นละออง ควันไฟจากการเผาไม้หรือหญ้า สารเคมีต่างๆ ตลอดจนบุหรี่
  5. การดื่มเหล้า มากๆ เป็นเวลานาน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็งสูงขึ้นกว่าประชากรทั่วไปราว 10 เท่า ซึ่งพบว่ามะเร็งที่พบบ่อยในคนที่ดื่มเหล้า ได้แก่ มะเร็งในช่องปากรู้จักมะเร็งโพรงจมูก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ และมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น

อาการ

  1. ก้อนที่คอ เป็นอาการที่พบมากที่สุดของผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกที่มาพบแพทย์ โดยก้อนที่คอจากต่อมน้ำเหลืองโตนั้นอาจมีเพียงข้างใดข้างหนึ่งหรือเป็นทั้งสองข้างก็ได้
  2. อาการทางจมูก เช่น มีเลือดกำเดาไหล มีน้ำมูกปนเลือดบ่อยครั้ง แน่นจมูกหายใจไม่ค่อยสะดวก คัดจมูก หรือมีน้ำมูกไหลลงคอเรื้อรัง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยหลายรายอาจได้รับการรักษาแบบโพรงจมูกหรือโพรงไซนัสอักเสบเรื้อรังมาก่อน
  3. อาการทางหู ได้แก่ การได้ยินบกพร่อง มีเสียงดังในหู ปวดหู หูอื้อหรือหูตึงหรือมีของเหลวไหลออกจากหู ซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของท่อเชื่อมหูชั้นกลาง เนื่องจากมะเร็งหลังโพรงจมูกกระจายตัวมาถึง
  4. ระบบประสาท ได้แก่ อาการปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ชาที่ใบหน้า ในรายที่ลุกลามมาก ผู้ป่วยก็อาจมีอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้า เวียนศีรษะ เสียงแหบ กลืนลำบาก หรือสำลักได้
  5. อาการอื่นๆ ที่พบบ่อย คือ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ และอาจจะมีอาการอ้าปากไม่ขึ้น เป็นต้น

การวินิจฉัย

  1. โดยการซักประวัติ
  2. การตรวจร่างกาย ในบริเวณศีรษะและคอ โพรงหลังจมูกอย่างละเอียดรวมถึงการตรวจ ร่างกายทั่วไปซึ่งมีความสำคัญในการวินิจฉัย
  3. การตัดชิ้นเนื้อ จากเนื้องอกในโพรงจมูกไปตรวจทางพยาธิวิทยา เป็นการวินิจฉัยที่แน่นอนที่สุด (การตัดชิ้นเนื้อตรวจสามารถทำได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโดยการใช้ยาชาเฉพาะที่ และใช้ กล้องส่องช่วยในการตัดชิ้นเนื้อ)
  4. การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ
  • การตรวจเซลล์ ผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกบางรายมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยปัญหาต่อมน้ำเหลืองข้างลำคอโต โดยที่แพทย์ไม่พบความผิดปกติที่บริเวณหลังโพรงจมูก การเจาะและดูด (fine needle aspiration biopsy -FNA) บริเวณต่อมน้ำเหลืองเพื่อตรวจเซลล์ สามารถช่วยในการวินิจฉัยได้
  • การตรวจเลือด โดยการตรวจสารภูมิต้านทานอิมมูโนโกลบูลินเอ( IgA antibodies) ต่อไวรัสเอปสไตน์บาร์ (Epstein-Barr virus specific antigens) โดยพบว่าผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกจะมีปริมาณสารภูมิต้านทาน สูงกว่าปกติ
  • การตรวจทางรังสีวิทยา ดังได้กล่าวแล้วว่าผู้ป่วยบางรายที่แพทย์สงสัยว่าเป็นมะเร็งหลังโพรงจมูกแต่ตรวจร่างกายไม่พบก้อนเนื้อหรือแผลที่บริเวณหลังโพรงจมูก การตรวจ computed tomography (CT) และ magnetic resonance imaging (MRI) จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยวินิจฉัยโรค และการตรวจทั้งสองอย่างนี้ยังสามารถบอกขอบเขตการลุกลามของตัวมะเร็งตลอดจนการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นการตรวจทางรังสีวิทยาอย่างอื่น ยังมีประโยชน์ในการตรวจหาว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นๆอีกหรือไม่ ได้แก่ การตรวจ bone scan และการตรวจอัลตราซาวด์ตับ (liver ultrasound) เป็นต้น

การรักษา

การรักษามะเร็งหลังโพรงจมูกโดยหลักแล้ว คือ การใช้รังสีรักษา โดยอาจร่วมกับการให้เคมีบำบัดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะการดำเนินโรคของมะเร็ง สำหรับการผ่าตัดนั้นไม่มีบทบาทในการรักษาโดยตรง เนื่องจากมะเร็งหลังโพรงจมูกมีขอบเขตของรอยโรคใกล้กับอวัยวะที่สำคัญ อาทิ เส้นเลือดแดงใหญ่ที่เลี้ยงคอและสมอง ฐานกะโหลกศีรษะ ตลอดจนส่วนของสมองเอง อย่างไรก็ตามการผ่าตัดก็ยังคงมีบทบาทในการรักษามะเร็งหลังโพรงจมูก ในกรณีที่สามารถควบคุมตัวมะเร็งหลังโพรงจมูกได้แล้ว แต่ยังคงมีก้อนที่คออยู่ หรือในผู้ป่วยที่มีมะเร็งเกิดซ้ำหรือหลงเหลือในบริเวณที่จำกัด ก็อาจพิจารณาผ่าตัดได้ในบางราย

การดูแลและป้องกันตนเอง

  • ตรวจเช็คร่างกายประจำปี
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยส่งเสริมที่อาจเป็นสาเหตุของมะเร็งหลังโพรงจมูก เช่น อาหารปิ้ง ย่าง รมควัน อาหารหมักดอง ควันเขม่าพิษ สารระเหยต่างๆ รวมทั้งควรงดดื่มเหล้าและสูบบุหรี่
  • หากมีอาการเป็นหวัดเรื้อรัง หูอื้อ หรือคัดจมูกข้างเดียว เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ มีเลือดกำเดาไหลบ่อยๆ มีน้ำใสๆ หรือหนองไหลออกทางรูจมูกด้านเดียว ควรได้รับการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางหูคอจมูก หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคมะเร็ง เพื่อตรวจส่องดูในโพรงจมูกและตรวจพิเศษอื่นๆ

 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook Tianxian herb
ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


รู้จักโรคมะเร็ง

มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับการดูแล

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.