รู้เท่าทัน ! ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็ง

30-Dec-2015     อ่าน : 6326 คน


 

 

รู้เท่าทัน ! ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็ง

มะเร็ง มันเป็นเหมือนสงครามที่คอยฆ่าฟันผู้คนให้สูญเสียรายแล้ว รายเล่า หากใครที่ไม่แข่งแกร่งพอก็จะไม่สามารถต่อสู้กับเจ้าสงครามมะเร็งได้ มะเร็ง ชื่อโรคร้ายที่หลายๆ คน ต่างผวาและหวาดกลัวเป็นโรคที่เมื่อใครเป็นแล้วมีการรักษาที่ยุ่งยาก มีผลข้างเคียงในการรักษาที่รุนแรง และอาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากตามมา และหากเมื่อใครได้เป็นก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ ความน่ากลัวมากมายนี้จึงทำให้ผู้คนต่างหวาดกลัวกับมะเร็ง ไม่มีใครอยากจะเป็นมะเร็ง ไม่ใครอยากให้มันเกิดขึ้น แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นกับตัวเราแล้วเราจะทำอย่างไร หากเกิดกับคนในครอบครัวของเรา เกิดกับคนที่เรารักแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น วันนี้เราลองมาศึกษาสภาวะจิตใจของผู้ป่วย เพื่อที่จะเรียนรู้ และสามารถที่จะยอมรับและสู้กับมะเร็งได้

อาการทางด้านจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วย

การกลัว

จุดเริ่มต้นเมื่อผู้ป่วยเริ่มมีความรู้สึกหรือเริ่มรู้ว่าตัวเองมีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคมะเร็ง ผู้ป่วยจะเกิดความกลัว กลัวตั้งแต่การพบแพทย์ กลัววิธีการตรวจรักษา กลัวความรุนแรงของโรค กลัวผลข้างเคียงของโรค ซึ่งความกลัวตั้งแต่แรกเริ่มนี้ หากไม่ได้รับคำปรึกษาที่ดี ผู้ป่วยอาจตัดสินใจไม่เข้ารับการรักษาอะไรเลย จนในที่สุดกลายเป็นโรควิตกกังวลหรือซึมเศร้า

การโกรธ

เมื่อผู้ป่วยเริ่มรู้ว่าตนเองมีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง ผู้ป่วยจะเกิดสภาวะการณ์โกรธ โกรธตัวเองที่ทำไมถึงเป็นโรคร้ายแบบนี้ โกรธครอบครัวที่ดูแลตนเองไม่ดี โกรธการรักษาที่ล่าช้า โกรธไปหมดทุกอย่างที่เกิดขึ้นในรอบตัว

การรู้สึกอับอาย 

เมื่อได้รู้ว่าตนเองมีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งทำให้รู้สึกอับอาย คิดว่าเป็นตราบาปของชีวิต มักโทษว่าเป็นบาปกรรมที่ตนทำไว้เมื่อชาติปางก่อน  ต้องเป็นภาระของครอบครัวทั้งในด้านการดูแล รวมไปถึงภาระด้านค่าใช้จ่ายที่ตามมา 

ความรู้สึกเศร้าหมอง การสูญเสีย การสิ้นหวัง

ผู้ที่รอการวินิจฉัยโรคส่วนใหญ่ มักจะมีความรู้สึกเศร้าหมอง ร้องไห้ตลอดเวลา บางรายมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย คือ มีอาการเบื่ออาหาร ไม่อยากพบใคร อยากอยู่กับตัวเอง ซึ่งหากมีอาการที่อยู่ในขั้นรุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะโรคทางจิตเวชได้

ความวิตกกังวล

การที่อยู่ในช่วงรอการวินิจฉัย อาจทำให้เกิดภาวะวิตกกังวล กังวลเรื่องในอนาคตจะเป็นอย่างไร กังวลว่าถ้าหากเป็นมะเร็งขึ้นมาจะรักษายัง จะรักษาหายไหม จะอยู่ได้นานแค่ไหน ซึ่งความวิตกกังวลนำมาซึ่งอาการข้างเคียงต่อร่างกายหลายอย่าง อาทิ  อาเจียน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ท้องเสียบ่อย นอนไม่หลับ อาการปวดท้องเสมอ เป็นต้น 

สภาวะจิตใจของผู้ป่วยเมื่อรู้ว่าเป็นมะเร็ง

หลังจากที่ทราบการวินิจฉัยผู้ป่วยก็จะมีสภาวะจิตใจอีกแบบ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะได้ดังนี้

ระยะที่ 1 ( Phase 1) ระยะแรก

ผู้ป่วยจะปฏิเสธ ไม่ยอมรับ ท้อแท้ สิ้นหวัง ในบางรายอาจถึงขั้นช็อกได้ ซึ่งอาการหรือระยะเวลาในการทำใจยอมรับของผู้ป่วยนั้นแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล แต่หากเป็นผุ้ป่วยที่มีสภาวะจิตใจปรกติ จะใช้เวลาในขั้นนี้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ 

ระยะที่ 2 ( Phase 2) ระยะอารมณ์อ่อนอกอ่อนใจ

เป็นระยะต่อจากระยะแรกเป็นระยะที่ผู้ป่วยเริ่มยอมรับความความจริง  ผู้ป่วยจะมีอาการเศร้าหมอง มีอาการซึมเศร้า ผู้ป่วยจะรู้สึกสูญเสีย รู้สึกอับอายสิ้นหวัง เบื่ออาหาร รู้สึกอ่อนล้า ไม่มีสมาธิ ไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไร ไม่อยากเคลื่อนไหว อยากอยู่คนเดียว ไม่อยากพบปะผู้คน ในบางรายอาจเกิดภาวะนอนไม่หลับ ซึ่งระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 1-2 อาทิตย์ บางรายนานถึง 1 เดือน ขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจของผู้ป่วยแต่ละราย

ระยะที่ 3 (Phase 3 ) ระยะปรับตัวยอมรับ

เมื่อผ่านสภาวะทั้ง 2 ระยะมาได้ ผู้ป่วยจะสามารถยอมรับความจริงและหันมายอมรับการรักษา และหันมาเริ่มต่อสู้กับโรค ระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ อาจใช้ระยะเวลาสั้นหรือยาวนานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับผู้ป่วย ในผู้ป่วยบางรายที่วิตกกังวลและท้อแท้มาก จนไม่สามารถยอมรับความจริง และไม่รับการรักษา เป็นเพราะการที่ผู้ป่วยไม่สามารถผ่าน 2 ระยะนั้นมาได้ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปรกติทางด้านจิตใจ

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดความผิดปรกติด้านจิตใจ มี 2 ปัจจัยหลัก 

  1. ปัจจัยจากตัวโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่มีผลค้างเคียงทางด้านจิตใจที่มาจากโรค โดยมากมักเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในขั้นรุนแรง หรือเมื่อรักษาไปแล้วมีผลข้างเคียงอย่างรุนแรง จนผู้ป่วยเกิดความรู้สึกเจ็บปวดอย่างมาก
  2. ปัจจัยเสี่ยงจากตัวผู้ป่วย ผู้ป่วยที่จะเกิดภาวะเสี่ยงและเกิดอาการทางจิตใจและอารมณ์ได้ง่าย ได้แก่ ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่ตัวคนเดียว ไม่มีคนดูแล ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า เคยมีประวัติมีปัญหาด้านสุขภาพจิต ผู้ป่วยที่มีปัญหาครอบครัวและผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น 

แนวทางการดูแลรักษา

ผู้ป่วยและครอบครัว ต้องเข้าใจและยอมรับในตัวโรค เมื่อเข้าใจและยอมรับก็ต้องสร้างกำลังใจให้กันและกัน โดยนอกจากกำลังใจจากครอบครัวแล้ว กำลังใจจากคนรอบข้างอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นทีมแพทย์ผู้รักษาพยาบาล เพื่อน จะต้องเป็นผู้สนับสนุนและให้กำลังใจผู้ป่วย พยายามให้ผุ้ป่วยไม่อยู่คนเดียว พยายามหากิจกรรมสนุกๆ มีเรื่องสนุกๆชวนให้คนไข้มีอารมณ์ขันเสมอ หากิจกรรมการเข้าร่วมชมรม ร่วมกลุ่ม เพื่อให้ผู้ป่วยไม่มีเวลาในการคิดกังวล และครอบครัวอาจจะลองปรึกษา ศึกษาและหาแนวทางการรักษาในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย การหาข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการการรับประทานอาหาร หรือจะเป็นการลองหาการแพทย์ทางเลือกที่ได้รับชื่อเสียงมาเป็นระยะเวลานาน มาเป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วย

หมอไม่ใช่ยารักษาโรค แต่หมอเป็นแค่ผู้รักษาโรค คนที่จะสามารถรักษาโรคได้ คือตัวเรา ไม่มีใครรู้จักตัวเราได้ดีเท่ากับตัวเรา เมื่อเรารู้จักตัวเราเองดี คนที่รักษาตัวเราได้ดี ก็คือ ตัวเราเองนั่นแหละ ดังนั้นคนที่จะรักษาผู้ป่วยได้ก็คือ ผู้ป่วย

 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook Tianxian herb
ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


มะเร็งกับการดูแล

มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับอาหาร

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.