เรื่องที่ต้องรู้ ! ยาลดฮอร์โมนเพศหญิง (SERMs) - ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

17-Apr-2015     อ่าน : 9084 คน


       

 

เรื่องที่ต้องรู้ ! ยาต้านฮอร์โมนเพศหญิง (SERMs) - ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่พยาธิแพทย์ได้ตรวจพบว่า ฮอร์โมนเพศมีผลต่อการกระตุ้นทำให้เกิดการเติบโตของก้อนเนื้อได้นั้น แพทย์ผู้ทำการรักษาจะให้ยาต้านฮอร์โมนกลับมารับประทานที่บ้าน จึงขอแนะนำยาในกลุ่มนี้ให้รู้จัก ดังนี้ตัวรับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายผู้หญิงจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ อัลฟ่าเอสโตรเจน รีเซฟเตอร์ (Alpha-Estrogen Receptor) และ เบต้าเอสโตรเจน รีเซฟเตอร์ (Beta-Estrogen Receptor) ทั้งสองชนิดจะอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายทั้ง มดลูก ช่องคลอด ผิวหนัง สมอง เต้านม เป็นต้น เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนตัวรับเหล่านี้จะไม่ถูกกระตุ้นให้ทำงาน จึงเกิดอาการผิดปกติหลายระบบในร่างกายให้เห็น สำหรับมะเร็งเต้านมนั้น พบว่า อัลฟ่าเอสโตรเจน รีเซฟเตอร์ จะมีส่วนเกี่ยวข้องมาก (สำหรับเบต้ายังมีรายงานผลไม่ชัดเจนนัก) ทำให้เมื่อการรักษาต่างๆ เสร็จสิ้นลง แพทย์จึงต้องจ่ายยาต้านยาลดฮอร์โมนหญิงให้เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

ยาลดฮอร์โมนหญิง หรือเรียกให้ถูกว่า Selective Estrogen Receptor Modulator (SERMs) ว่ากันตามการออกฤทธิ์นั้นยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ทั้งกระตุ้น และยับยั้งการตอบสนองของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ยาที่เป็นสมาชิกในกลุ่มนี้ ได้แก่ Afimoxifene, Azoxifene, Alomifene, Raloxifene และ Tamoxifen เป็นต้น ข้อบ่งใช้ของยาแต่ละตัวในกลุ่มนี้ไม่เหมือนกัน ยาบางตัวใช้เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน  ส่วนยาที่ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมนั้นมีอยู่ 2 ตัว คือ ทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) และ ราร็อกซิเฟน (Raloxifene) พบว่ายาจะเข้าไปจับกับตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ตัวรับไม่สามารถถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนดังกล่าวได้ แต่ผลของยาไม่ได้มีเฉพาะที่บริเวณเต้านม หากแต่มีผลต่อทั้งร่างกาย โดยผลข้างเคียงของทาม็อกซิเฟนอาจพบได้มากกว่าราร็อกซิเฟน เพราะราร็อกซิเฟนจะจับกับตัวรับอัลฟ่า (Alpha) ได้ดีกว่า 

อาการข้างเคียงที่พบได้หลังได้รับยาลดฮอร์โมนหญิง ได้แก่ อาการร้อน วูบวาบ ตามร่างกาย มีเหงื่อออกมากเวลากลางคืน ตกขาวเล็กน้อย อารมณ์เปลี่ยนแปลง แต่หากผู้ป่วยมีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด หรือสูบบุหรี่ควรแจ้งแพทย์ผู้ทำการรักษา

นอกจากนี้ ยังมียาอีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้โดยเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว เรียกว่า ยายับยั้งเอนไซม์ อะโรมาเทส (Aromatase) หรือ อะโรมาเทส อินฮิบิเตอร์ (Aromatase Inhibitor) สาเหตุที่มาเลือกใช้ยากลุ่มนี้ก็เพราะ เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่ก็น้อยลงอยู่แล้ว แต่การสร้างเอสโตรเจนในผู้ป่วยกลุ่มวัยหมดประจำเดือน กลับมาจากการเปลี่ยนฮอร์โมนเอ็นโดรเจน (Androgen) โดยอาศัยเอนไซม์อะโรมาเทสดังกล่าวเปลี่ยนให้เป็นเอสทราไดออล (Estradiol) ซึ่งสามารถกลับไปกระตุ้นเต้านมได้เช่นเดียวกัน ยาในกลุ่มนี้จึงหวังผลลดกระบวนการสร้างเอสโตรเจนจากเอ็นโดรเจนนั่นเอง ยาในกลุ่มนี้ชื่อว่า Letrozole หรือ Femara โดยปกติแพทย์อาจจะจ่ายหลังจากได้รับยาทาม็อกซิเฟนไปสักระยะ หรือเริ่มได้รับตั้งแต่แรก ทั้งนี้ขึ้นกับแพทย์ผู้ทำการรักษาพิจารณา 

 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook Tianxian herb
ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Tag ที่เกี่ยวข้อง

ยาต้านฮอร์โมน มะเร็งเต้านม เซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง

มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับการดูแล

มะเร็งกับอาหาร

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.