ผลข้างเคียงการฉายแสง - การจัดการอาการไม่พึงประสงค์จากฉายรังสี

09-Nov-2012     อ่าน : 7936 คน


 

 

ผลข้างเคียงการฉายแสง - การจัดการอาการไม่พึงประสงค์จากฉายรังสี

การฉายรังสีช่วยให้ ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงหรือฝ่อหายไป ลดอาการเจ็บปวด ลดอาการเลือดคั่ง, เลือดออกมาก ลดอาการกดทับหรือกดรัดอวัยวะ ลดอาการอุดตันอวัยวะ 

ผลข้างเคียงการฉายแสงระหว่างการได้รับรังสี ขึ้นอยู่กับ : 

  • ตำแหน่งที่รักษา
  • ปริมาณรังสีที่รักษา
  • ปริมาตรเนื้อเยื่อที่รักษา
  • ชนิดของเครื่องมือที่ใช้รักษา
  • ทิศทางการฉายรังสีที่รักษา
  • การรักษาร่วมกับวิธีการรักษาอื่นๆ

ฉายรังสีบริเวณศีรษะส่วนบน

  • ใช้รักษา มะเร็งสมอง  มะเร็งเยื่อหุ้มสมอง  มะเร็งกระจายไปสมอง
  • อาการไม่พึงประสงค์ของการฉายรังศีรษะส่วนบน

อาการที่พบบ่อย คือ ปวดหัว อาเจียน ผมร่วง มีการป้องกันและรักษาดังนี้ :

  • แพทย์จะให้ยาป้องกันตั้งแต่แรก
  • ปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้กรณีที่ยังไม่ได้ให้
  • รับยาลดอาการสมองบวม แก้ปวดหัวและอาเจียน
  • ผมร่วงยังไม่มียาป้องกัน แต่หลังฉายรังสีครบผมจะงอกมาใหม่ ให้นวดเบาๆ ด้วยน้ำมันมะกอก

 ฉายรังสีบริเวณศีรษะส่วนล่าง ช่องปากและลำคอ

ใช้รักษาหลายมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งในโพรงหลังจมูก มะเร็งโพรงแก้ม โพรงจมูก มะเร็งช่องลำคอ มะเร็งช่องปาก มะเร็งริมฝีปาก มะเร็งช่องหู มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งต่อมไทรอยด์  มะเร็งหลอดอาหารส่วนต้น  มะเร็งผิวหนัง  มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระจายไปกระดูกคอ มะเร็งกระจายไปกดไขสันหลังบริเวณกระดูกคอ 

อาการไม่พึงประสงค์การฉายรังสีบริเวณศีรษะส่วนล่าง ช่องปากและลำคอ

  • ผิวแห้ง ดำ (เซลล์ผิวหนังชั้นบนที่ตายแห้ง คือ ขี้ไคล)
  • ผิวหนังพอง เป็นแผล (เกิดจากการเสียดสี)
  • ปากเปื่อย เจ็บปาก เจ็บคอ กลืนลำบาก
  • เสมหะมาก น้ำลายเหนียว

 การป้องกันอาการไม่พึงประสงค์เมื่อฉายรังสีบริเวณศีรษะส่วนล่าง ช่องปากและลำคอ

  • ทาครีมบำรุงผิวชนิดไม่ระคายเคืองผิวที่ไม่มีโลหะผสม
  • ระหว่างฉายรังสีให้ใส่เสื้อผ้าเนื้อนุ่ม หลวม คอกว้าง แขนกว้าง 
  • บ้วนปากหลังอาหารทุกครั้ง แปรงด้วยแปรงสีฟันนุ่มที่สุด หรืออาจใช้นิ้วถู บ้วนน้ำเกลือ
  • หลังแปรงฟันครั้งสุดท้ายก่อนนอนให้อมน้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าว 2-3 ช้อนชา กลั้วปากประมาณ 5 นาที แล้วบ้วนทิ้ง
  • ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8-10 แก้ว

การดูแลแผลหนังเปิดระหว่างการฉายรังสี

  • ทำแผลโดยใช้สำลีจุ่มน้ำเกลือ ซับรอบแผลเบาๆ
  • หยอดน้ำเกลือล้างในแผล
  • หากแพทย์สั่งยาใส่แผลให้ ให้หยอดยาลงในแผลเกลี่ยเบาๆ
  • ปิดแผลด้วยผ้าตาข่ายเคลือบล่อน
  • ปิดทับด้วยผ้าก๊อชปลอดเชื้อ
  • ยึดผ้าก๊อชด้วยพลาสเตอร์ ติดกับผิวหนังนอกบริเวณฉายรังสี
  • ทำแผลวันละ 1-2 ครั้ง

การดูแลอาการ ปากเปื่อย เจ็บปาก เจ็บคอ

  • ให้ยาแก้ปวด
  • ให้ยาบำรุงเยื่อบุปาก
  • อมยมชาก่อนรับประทานอาหาร

การดูแลอาการกลืนอาหารลำบาก

  • ให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่ายหรืออาหารเหลวครบ 5 หมู่ 
  • หากรับประทานทางปากไม่ได้ ให้สอดหลอดให้อาหารเหลวทางจมูกลงกระเพาะ
  • หรือทำการผ่าตัดสอดท่อให้อาหารเหลวผ่านหน้าท้องสู่กระเพาะอาหาร
  • หรือให้อาหารผ่านทางหลอดเลือดดำ

 ฉายรังสีบริเวณช่องอก

ใช้รักษา มะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งกระจายไปปอด มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในช่องกลางอก มะเร็งกระจายไปกระดูกซี่โครงและกระดูกสันหลัง มะเร็งกระจายไปกดไขสันหลัง มะเร็งกระดูกสันหลัง มะเร็งหรือเนื้องอกไขสันหลัง 

อาการไม่พึงประสงค์การฉายรังสีบริเวณช่องอก

  • ผิวแห้ง ดำ 
  • ผิวหนังพอง เป็นแผล อักเสบ ไข้
  • กลืนอาหารเจ็บกลางอก

การรักษา : 

  • พบแพทย์ให้ยาตามอาการ
  • การรักษาอื่นๆ เหมือนการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ

 ฉายรังสีบริเวณช่องท้อง

ใช้รักษา มะเร็งหลอดอาหารส่วนล่าง  มะเร็งกระเพาะอาหาร  มะเร็งตับอ่อน  มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี   มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง  มะเร็งไต กรวยไต ท่อไต  มะเร็งกระดูกเอว มะเร็งกระจายไปกระดูกเอว  มะเร็งไขสันหลัง มะเร็งกระจายไปไขสันหลัง

อาการไม่พึงประสงค์การฉายรังสีบริเวณช่องท้อง

  • ผิวแห้ง ดำ 
  • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
  • ปวดท้อง

การรักษา : 

  • พบแพทย์ให้ยาตามอาการ
  • ให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ยาเจริญอาหาร ยาแก้ปวดท้อง ลดกรด ช่วยย่อย ขับลม

ฉายรังสีบริเวณช่องเชิงกราน

  • มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด
  • มะเร็งมดลูก
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก

อาการไม่พึงประสงค์การฉายรังสีบริเวณช่องเชิงกราน

  • ผิวแห้ง ดำ 
  • ปัสสาวะแสบ
  • ท้องเสีย ปวดท้อง
  • ก้นเปื่อยอักเสบ
  • ช่องปัสสาวะอักเสบ

การรักษา : 

  • พบแพทย์ให้ยาตามอาการ
  • ให้ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้อักเสบ ยาแก้ท้องเสีย ยาทาแผล

ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.พญ.สุพัตรา  แสงรุจิ

 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook Tianxian herb
ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Tag ที่เกี่ยวข้อง

ความรู้มะเร็ง การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ฉายรังสี

มะเร็งกับการดูแล

มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับอาหาร

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.