7 อาการหลังทำคีโมที่พบบ่อยและวิธีดูแลเบื้องต้น
17-Mar-2025
อ่าน : 296 คน

7 อาการหลังทำคีโมที่พบบ่อยและวิธีดูแลเบื้องต้น
เคมีบำบัด เป็นวิธีรักษาโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ แต่ก็ตามมาด้วยผลข้างเคียงมากมาย อาการหลังคีโม ไม่ว่าจะเป็น อาการคลื่นไส้ ท้องผูก-ท้องเสีย หรือ ผมร่วง ล้วนแล้วแต่ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง แต่เราก็มีวิธีการดูแลที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังกาย-กำลังใจ และรับมือการรักษาได้อย่างเต็มที่
เคมีบำบัด คืออะไร?

เคมีบำบัด หรือ คีโม (Chemotherapy) คือ การใช้ยาเฉพาะกลุ่มเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตและแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยสามารถให้ตัวยาผ่านการหลอดเลือดหรือยาเม็ดแบบรับประทานก็ได้ ซึ่งเคมีบำบัดสามารถทำร่วมกับการรักษาแบบอื่น ๆ เช่น การฉายแสง หรือ การผ่าตัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาได้
เป้าหมายหลักของการทำคีโม คือ กำจัดโรคมะเร็ง ป้องกันการเกิดซ้ำ และควบคุมไม่ให้เกิดการแแพร่กระจาย โดยระยะเวลาการทำคีโม 1 คอร์ส จะอยู่ที่ 3-6 เดือน (อาจมากกว่าหรือน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งและระยะของโรค) จำนวนรอบการรักษาใน 1 คอร์ส เฉลี่ยอยู่ที่ 4-8 ครั้ง ซึ่งอาจจะแบ่งเป็นรายสัปดาห์ หรือทุก ๆ 2-4 สัปดาห์ ตามที่แพทย์สั่ง
อาการหลังคีโม หรือ อาการแพ้คีโม เกิดจากอะไร?
ผลข้างเคียงจากการคีโม หรือที่เราเรียกกันว่า อาการแพ้คีโม เกิดจากการที่เซลล์อื่น ๆ ในร่างกายของเราได้รับตัวยาไปด้วย เพราะกลุ่มยาคีโมมีเป้าหมายหลักเป็นเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวได้รวดเร็ว มันจึงส่งผลกระทบกับเซลล์อื่น ๆ ที่มีสุขภาพดีไปด้วย เช่น เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร เซลล์ผิวหนัง เซลล์เส้นผม และเซลล์เม็ดเลือดขาว-เม็ดเลือดแดง
เพราะเหตุนี้ อาการหลังทำคีโมจึงแสดงออกมาหลายรูปแบบและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างไม่น้อย ผู้ป่วยและผู้ดูแลจึงควรศึกษาวิธีรับมือ เพื่อให้การรักษาเป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพที่สุดนั่นเอง
7 อาการที่พบบ่อยหลังทำคีโมและวิธีดูแลเบื้องต้น

ร่างกายของแต่ละคนอาจมีการตอบสนองต่อคีโมที่แตกต่างกัน โดย 7 อาการเป็นผลข้างคียงที่พบได้บ่อยและมักเกิดตั้งแต่หลังทำคีโมครั้งแรก
-
คลื่นไส้และอาเจียน
เป็นผลข้างเคียงของคีโมที่พบได้บ่อยมาก ๆ โดยมักเกิดในช่วง 2-3 ชั่วโมงหลังทำคีโม เนื่องจากตัวยาคีโมอาจรบกวนการทำงานของเยื่อบุของทางเดินอาหาร
วิธีดูแล: แบ่งอาหารมื้อเล็ก ๆ บ่อยครั้ง,จิบน้ำเย็นหรือน้ำหวานเพื่อลดความรู้สึกคลื่นไส้, ใช้ยาแก้อาการคลื่นไส้
-
เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
ผู้ป่วยระหว่างคีโมมักมีอาการเบื่ออาหารซึ่งมาคู่กับอาการคลื่นไส้ และเกิดจากการที่ตัวยาทำให้ความสามารถในการรับรสและกลิ่นเปลี่ยนไปจนทำให้ไม่ยากทาน และน้ำหนักตัวลดลง
วิธีดูแล: เลือกอาหารที่ทานง่ายแต่มีพลังงานและโปรตีนสูง เช่น ซุป หรือ สมูธตี้
-
ท้องผูก ท้องเสีย
เป็นอีกอาการหลังทำคืโมที่พบได้บ่อย เนื่องจากตัวยาส่งผลต่อเซลล์ในกระเพาะและลำไส้ ทำให้ระบบย่อยอาหารแปรปรวน
วิธีดูแล: เพิ่มกากใยในแต่ละมื้ออาหาร, ดื่มน้ำให้มากขึ้น, สามารถใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ก่อนเสมอ
-
ผมร่วง
เกิดจากยาเคมีบำบัดทำลายเซลล์รากผมชั่วคราว ทำให้ผมบางและร่วงง่าย
วิธีดูแล: ใช้แชมพูอ่อนโยน หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนหรือสารเคมีกับเส้นผม และสามารถใส่วิก ผ้าคลุม หรือหมวกเพื่อเพิ่มความมั่นใจ
-
ปากแห้ง ปากแตก และเป็นแผลในปากได้ง่าย
เกิดจากการที่ตัวยาคีโมมีผลต่อเซลล์ต่อมน้ำลายและเซลล์เยื่อบุในโพรงปาก
วิธีดูแล: เลือกทานอาหารที่อ่อนและเคี้ยวง่าย, จิบน้ำบ่อย ๆ หรืออมน้ำแข็งก้อนเล็กระหว่างวัน, ทาลิปบาล์มเพื่อลดอาการริมฝีปากแตก, ใช้แปรงขนอ่อนนุ่ม และบ้วนปากทุกครั้งหลังทานอาหาร
-
อ่อนแรง เหนื่อยง่าย
เกิดจากจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง มักเกิดในช่วงสัปดาห์แรกหลังทำคีโม
วิธีดูแล: รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อแดง ตับ ผักใบเขียว และพักผ่อนให้เพียงพอ
-
ภูมิคุ้มกันต่ำ ป่วยง่าย เสี่ยงติดเชื้อ
เนื่องจากคีโมมีผลทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวลดลง ภูมิคุ้มกันของเราจึงอ่อนแอและเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายหรือป่วยได้ง่ายขึ้น
วิธีดูแล: ล้างมือบ่อย ๆ, ทำความสะอาดข้าวเครื่องใช้เป็นประจำ, หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด, หลีกเลี่ยงอาหารดิบเพื่อป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ, และสังเกตอาการไข้ เช่น ไอ จาม หนาวสั่น หรือเจ็บคออยู่เสมอ
การดูแลอาการข้างเคียงหลังคีโมอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับการรักษาได้ดีขึ้น และคงคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดการรักษา
สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาตัวช่วยในการรับมือกับอาการหลังคีโม ยาน้ำเทียนเซียน คือ ยาสมุนไพรตามองค์ความรู้แพทย์แผนจีน ช่วยขับร้อนถอนพิษ เพิ่มความอยากอาหาร และบำรุงกำลัง
ยาน้ำเทียนเซียน ประกอบด้วยสมุนไพร 14 ชนิดจากเทือกเขาฉางไป๋ซาน ถูกวิจัยและพัฒนาอย่างพิถีพิถันจากสถาบันวิจัยยาฉางไป๋ซาน สามารถใช้ร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบันได้อย่างปลอดภัย พร้อมมอบคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ป่วย
สนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ได้ที่ LINE: @tianxian
.jpeg)
เคล็ดลับในการเตรียมตัวก่อนทำคีโมครั้งแรก

เนื่องจากเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงอาการหลังทำคีโมได้ การเตรียมตัวและเตรียมใจไว้ก่อนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยวิธีเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจและพร้อมรับการรักษามากขึ้น
- เลือกสวมเสื้อผ้าที่สบาย อาจจะติดผ้าห่มไปด้วย เพื่อความสบายตัวระหว่างทำคีโม
- เตรียมกระเป๋าคีโม ที่มีสิ่งของอำนวยความสะดวกอย่างเช่น เสื้อผ้าที่อบอุ่น หมอน ขนม น้ำ ลิปบาล์ม และสิ่งของเพื่อความบันเทิงอย่าง หนังสือหรือแท็บแล็ต
- จัดการเรื่องการเดินทาง โดยอาจขอให้คนใกล้ชิดช่วยรับ-ส่ง เพื่อป้องกันไม่ให้รู้สึกเหนื่อยล้าเกินไปหลังทำคีโม
- เคลียร์ตารางให้ว่าง โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ หลังการทำคีโม เพื่อให้มีเวลาพักผ่อนเพียงพอ
- เตรียมตัวรับมือกับผลข้างเคียง เช่น เตรียมตุนอาหารที่ทานง่ายหรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไว้ที่บ้าน และหาวิธีผ่อนคลายความเครียดที่มาจากโรค
อาการหลังทำคีโมที่เป็นอันตราย และควรพบแพทย์

แม้ว่าอาการข้างเคียงจากเคมีบำบัดส่วนใหญ่มักบรรเทาได้ แต่บางอาการอาจมีความรุนแรงและเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย
- ไข้สูง หนาวสั่น อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ
- เลือดออกผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน หรือมีรอยช้ำ-จ้ำเลือดที่ไม่ทราบสาเหตุ
- หายใจลำบาก หรือ เจ็บหน้าอก อาจบ่งบอกถึงภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด
- ปวดศีรษะรุนแรง สับสน หรืออ่อนแรงครึ่งซีก อาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางระบบประสาท
- ปัสสาวะผิดปกติ เช่น มีเลือดปน ปัสสาวะแสบขัด หรือไม่ปัสสาวะนานถึง 8 ชั่วโมง
- ผื่นลุกลาม หรือมีอาการแพ้รุนแรง เช่น ผื่นแดงคันทั่วร่างกาย ใบหน้าบวม หายใจติดขัด
โดยหากพบอาการข้างต้น ควรรีบขอความช่วยเหลือจากแพทย์ทันที
อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยเคมีบำบัดอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ อาการทั่วไปที่พบบ่อย เช่น คลื่นไส้อาเจียน, ผมร่วง หรือแผลในปาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาการที่สามารถบรรเทาได้เพียงเรารู้วิธีรับมือและดูแลอย่างเหมาะสม หากมีอาการรุนแรงขึ้น อาทิ มีเลือดออกผิดปกติ, ผื่นแพ้, ไข้สูง, หายใจลำบาก หรือปวดมาก ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษา อีกทั้ง กำลังใจ ก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยต่อสู้กับโรคและผลข้างเคียงของการรักษาได้อย่างเต็มกำลัง
อ่านประสบการณ์จริงของผู้เอาชนะโรคมะเร็งได้ทางเว็บไซต์ของเรา
มะเร็งกับการดูแล
มะเร็งกับการรักษา
มะเร็งกับอาหาร