ข้อควรรู้ผ่าตัดรักษามะเร็ง - การวางแผนการผ่าตัด

02-Mar-2010     อ่าน : 10098 คน


 

ข้อควรรู้ผ่าตัดรักษามะเร็ง - การวางแผนการผ่าตัด

ในแต่ละปีกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งที่สามารถรักษาให้หายได้นั้น พบว่า 60% หายได้ด้วยการผ่าตัด 25% หายได้ด้วยรังสีรักษา และมีเพียง 13% ที่หายได้ด้วยเคมีบำบัด ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด รักษาหายได้โดยการผ่าตัดอย่างเดียว การผ่าตัดรักษาเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่โรคมะเร็งยังอยู่เฉพาะตำแหน่งเริ่มต้น (มะเร็งระยะที่ 1) หรือเพียงกระจายไปเนื้อเยื่อข้างเคียง หรือลุกลามทะลุผ่านอวัยวะที่เป็นโพรง (ระยะที่ 2) เท่านั้น นอกนั้น อาจต้องรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัดเพื่อควบคุมหรือทำลายเซลล์มะเร็ง

วัตถุประสงค์ของการผ่าตัด

เพื่อการรักษาให้หายขาด การผ่าตัดโรคมะเร็งเพื่อหวังผลให้หายนั้น โอกาสดีที่สุด คือ การผ่าตัดครั้งแรกต้องถูกต้องและเพียงพอ สามารถเอาส่วนของมะเร็งออกได้หมด และไม่มีเซลล์มะเร็งตกหล่นไว้ในบริเวณผ่าตัดนั้น

เพื่อการรักษาประคับประคอง เป็นการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากโรคมะเร็ง เนื่องจากมะเร็งมีการแพร่กระจายไปมากเกินที่จะรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดเพื่อลดอาการปวด ควบคุมเลือดออกจากมะเร็ง แก้ปัญหาการอุดตันของลำไส้หรือการติดเชื้อ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อประคับประคองให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ทรมานจากปัญหาแทรกซ้อน และช่วยยืดอายุผู้ป่วย

การวางแผนการผ่าตัด

การผ่าตัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งก็เช่นเดียวกับการผ่าตัดทั่วไป ที่จะต้องมีการเตรียมผู้ป่วยให้ดี แก้ไขภาวะผิดปกติต่างๆ ก่อนการผ่าตัด เพื่อให้มีโอกาสเกิดปัญหาแทรกซ้อนน้อยที่สุด เพราะการผ่าตัดในบางโรคนั้น เป็นการผ่าตัดใหญ่กินบริเวณกว้าง ใช้เวลานานและยุ่งยาก โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีความเสี่ยงต่อชีวิตค่อนข้างมาก การวางแผนการผ่าตัดรักษาจะมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนและถูกต้อง เพื่อโอกาสที่จะหายขาด หรือเพื่อประคับประคองให้มีโอกาสและคุณภาพของชีวิตที่ดีขึ้น

ข้อควรพิจารณาในการผ่าตัด

  1. การดำเนินของโรค
  2. การแพร่กระจายของโรค โดยพิจารณาถึงตำแหน่งและขนาดของเนื้อร้าย ความเป็นไปได้ในการทุเลาเบาลงของโรคจะมีมากน้อยเพียงใด
  3. ความเสี่ยงของการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับ
  • ภาวะสุขภาพเดิมของผู้ป่วย เช่น มีภาวะทุพโภชนาการ ภูมิคุ้มกันต่ำ ภาวะโลหิตจาง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ควรจะต้องแก้ไขให้ดีขึ้นหรือเป็นปกติก่อนผ่าตัด
  • โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ฯลฯ
  • ชนิดและเทคนิคของการผ่าตัด ซึ่งขึ้นกับความสามารถและประสบการณ์ของศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์

ชนิดและวิธีการผ่าตัด

การผ่าตัดมะเร็งนั้น ศัลยแพทย์จะหลีกเลี่ยงไม่สัมผัสตัวมะเร็งมากนัก บริเวณที่กรีดหรือผ่าจะไม่ผ่านเข้าไปในเนื้อหรือก้อนมะเร็ง เพราะอาจทำให้เซลล์มะเร็งมีโอกาสตกหล่นอยู่ในบริเวณผ่าตัด ระยะของการผ่าจะห่างจากขอบก้อนมะเร็งมากหรือน้อย ขึ้นกับชนิดและตำแหน่งของมะเร็ง และอาจจะรวมบริเวณของเนื้อเยื่อข้างเคียงหรืออวัยวะที่เป็นโพรงด้วย ชนิดของการผ่าตัดมะเร็ง อาจจะแบ่งให้เห็นได้ชัดๆ ดังนี้

  1. การผ่าตัดเอาเฉพาะส่วนของก้อนมะเร็งออก (Local resection) ใช้ในรายที่โรคมะเร็งยังอยู่เฉพาะในบริเวณที่กำเนิด หรือมีการกระจายของเซลล์มะเร็งเข้าไปยังผิวหนังส่วนข้างเคียงเพียงไม่กี่มิลลิเมตรจากขอบจุดเริ่มต้น จึงไม่ต้องตัดห่างมาก
  2. การผ่าตัดบริเวณกว้างโดยตัดเอาส่วนของมะเร็งที่มีการกระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงออกด้วย (Radical local resection) ใช้ในรายที่มะเร็งมีการกระจายแทรกไปในเนื้อเยื่อข้างเคียงมากจากจุดเริ่มต้น เมื่อตัดจึงต้องเอาออกกว้าง ถ้าเป็นที่กล้ามเนื้อ ก็ต้องเอากล้ามเนื้อนั้นออกทั้งมัดจากตำแหน่งจุดเริ่มต้นถึงจุดกระจาย แต่การผ่าตัดแบบนี้ ต้องคำนึงถึงความพิการที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย
  3. การผ่าตัดบริเวณกว้างโดยตัดเอาส่วนของมะเร็งที่มีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงออกด้วย (Radical resection with en bloc excision of lymphatics) ใช้ในรายที่โรคมะเร็งที่จุดเริ่มต้นอยู่ใกล้กับต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงของส่วนนั้น เนื่องจากมะเร็งอาจมีการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองแล้ว โดยที่บอกไม่ได้จากการตรวจคลำ ซึ่งจะมีผลช่วยให้การผ่าตัดรักษาดีขึ้น หรือช่วยในการพยากรณ์โรคต่อไป
  4. การผ่าตัดอย่างครอบคลุมกว้างขวาง (Extensive radical surgical procedures) ทำในบางกรณีที่ก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่ หรือมีการกระจายเข้าไปในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง (Local invasion) แต่ยังไม่มีการกระจายไปที่ไกลๆ (Distant metastasis) อาจมีโอกาสหายได้ เช่น การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่เข้าไปในอวัยวะข้างเคียง อาจจะต้องตัดอวัยวะนั้นๆ ในช่องเชิงกรานไปด้วย เช่น มดลูก รังไข่ เป็นต้น

ข้อจำกัดของการทำผ่าตัด

  • การผ่าตัดที่ไม่สามารถตัดเนื้อร้ายออกได้หมด เนื่องจากก้อนอยู่ติดกับอวัยวะสำคัญ
  • ไม่รู้ขอบเขตของเซลล์มะเร็งที่แน่นอน (Microextension) หากตัดกว้างผู้ป่วยจะสูญเสียอวัยวะมากเกินไป
  • ไม่สามารถตัดต่อมน้ำเหลืองออกได้หมด เช่น บริเวณคอมีต่อมน้ำเหลืองถึงประมาณ 150 ต่อม หรือ จากรอยแยกของเส้นเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ถึงเส้นเลือดของไต (Renal pedicle) มีต่อมน้ำเหลือง 50 – 75 ต่อม เป็นต้น
  • การผ่าตัดไม่ได้สามารถลดการแพร่กระจายของโรคทางกระแสเลือดหรือน้ำเหลือง ตลอด3จนช่องโพรงต่างๆ
  • ในกรณีเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากเกินไป จึงจำเป็นที่จะต้องให้การรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาเสียก่อน เพื่อให้เนื้อร้ายหดตัวมีขนาดเล็กลงง่ายต่อการผ่าตัด การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่รับการผ่าตัด

 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook Tianxian herb
ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับการดูแล

มะเร็งกับอาหาร

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.