มะเร็งปอดในผู้หญิง วิจัยเผยบุหรี่ตัวการสำคัญ

19-Jul-2023     อ่าน : 310 คน


 

มะเร็งปอดในผู้หญิง วิจัยเผยบุหรี่ตัวการสำคัญ

ในผู้ที่สูบบุหรี่นั้นการสูบบุหรี่ไม่เพียงทำให้ตนเองเสี่ยงมะเร็งปอด แต่ยังทำให้คนที่ไม่สูบบุหรี่เสี่ยงด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะควันบุหรี่มือสองยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอด เพราะฉะนั้นการไม่สูบบุหรี่คือการป้องกันมะเร็งปอดที่ดีที่สุด

จากการเก็บข้อมูลวิจัยผู้ป่วยมะเร็งปอดจำนวน 266 รายในปี พ.ศ. 2554 ของศูนย์โรคปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพ ซึ่งได้รับการประเมินตามอาชีพ การได้รับพิษจากควันบุหรี่ มีประวัติคนในครอบครัวที่เป็นมะเร็ง และการเป็นโรคร่วมอื่น ๆ พบว่า 89% ของผู้ป่วยชายที่เป็นมะเร็งนั้นมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเท่าไรนัก แต่สิ่งที่น่าตกใจมากที่สุดก็คือ ผู้ป่วยหญิงจำนวน 64 คนจาก 74 คนที่ไม่สูบบุหรี่ มีผู้ป่วยหญิง 40 คนหรือประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยหญิงได้รับพิษจากควันบุหรี่มือสอง

 

Figure 1: สถิติของชายและหญิงผู้เข้าร่วมในการวิจัย

Table 1: ลักษณะและการวัดเบื้องต้นของการวิเคราะห์

 

ในปี พ.ศ. 2550 ประชากรไทยที่อายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 11 ล้านคนจากทั้งหมด 51 ล้านคนถูกระบุว่าเป็นผู้สูบบุหรี่ (ในปี 2564 จำนวนผู้ที่ถูกระบุว่าสูบบุหรี่ลดลงเหลือ 9.9 ในจำนวนประชากรทั้งหมด 57 ล้านคน) นั่นหมายถึงผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่มีอัตราส่วน 1:5 ครอบครัวที่มีสมาชิกสูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงในการได้รับควันบุหรี่มือสองมากที่สุด ผู้หญิงที่มีสามีสูบบุหรี่จึงมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้หญิงที่สามีไม่ได้สูบบุหรี่

ในทำนองเดียวกัน ผลการสำรวจครัวเรือนทั้งหมด 1,284 ครัวเรือนใน  31 ประเทศ รวมทั้งลาว กัมพูชา ไทย และจีน พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ในครัวเรือนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับความเข้มข้นของนิโคตินในเส้นผม เมื่อมีผู้สูบบุหรี่จำนวนมากขึ้น ระดับความเข้มข้นของนิโคตินในเส้นผมจะสูงขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับควันบุหรี่ ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับการวิจัยในยุโรปตะวันออก ละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และจีน รวมถึงประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย พบว่าประชากรที่ไม่สูบบุหรี่สามารถได้รับพิษจากควันบุหรี่มือสองได้

ที่ประเทศอินเดียมีการวิจัยโดยจับคู่ผู้หญิงที่มีสุขภาพดีและไม่สูบบุหรี่จำนวน 50 คนให้ได้รับควันบุหรี่มือสองเทียบกับผู้หญิงวัยเดียวกันจำนวน 50 คนที่ไม่เคยสัมผัสกับควันบุหรี่ โดยเป็นการร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็งพบว่า การได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมในช่วงวัยเด็กมีผลอย่างมากกับอัตราการเกิดมะเร็งปอดที่สูงขึ้น (OR = 3.9, 95% CI 1.9 – 8.2) ดังนั้นการได้รับพิษจากควันบุหรี่มือสองเป็นสาเหตุของโรคปอดได้หลายชนิด ซึ่งเป็นแบบเดียวกันในประเทศอื่น ๆ เช่นกัน

จากข้อมูลการวิจัยข้างต้นจึงเป็นเครื่องยืนยันว่า การสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการรณรงค์ให้ประชาชนงดสูบบุหรี่จึงเป็นเรื่องสำคัญทางด้านสาธารณสุขที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อสู้กับความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับพิษจากควันบุหรี่มือสอง

ในประเทศจีน นอกเหนือจากมะเร็งปอดที่มาจากพิษควันบุหรี่มือสองแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อีก เช่น ควันน้ำมันจากการทำกับข้าว ควันบุหรี่ในสิ่งแวดล้อม อันตรายจากการทำงาน เช่น การได้รับสารพิษและสารเคมี เช่น แร่ใยหินและมลพิษทางอากาศ

ในปี พ.ศ. 2555 เครือข่ายมะเร็งครบวงจรแห่งชาติ (National Comprehensive Cancer Network® : NCCN®) ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือของศูนย์มะเร็งชั้นนำในสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่แนวปฏิบัติทางคลินิกด้านมะเร็งวิทยา (Clinical Practice Guidelines in Oncology : NCCN Guidelines®) โดยแนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดแบบใหม่ แม้ว่าแนวทางนี้จะทันสมัย ​​โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อตรวจหามะเร็งในระยะแรกสุด ซึ่งเป็นระยะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ควรขยายขอบเขตการคัดกรองให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงจากพิษควันบุหรี่มือสองด้วย   ทั้งนี้การขยายขอบเขตการคัดกรองจะช่วยให้ผู้ชำนาญการสามารถพัฒนาการตรวจคัดกรองมะเร็งให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การวิจัยของโรงพยาบาลกรุงเทพยังพบอีกว่า สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงจากควันพิษมือสองควรได้รับการคัดกรองก่อนอายุ 50 ปี

แนวทางปฏิบัติดูแลรักษามะเร็ง

  • ผู้ที่ยังไม่มีอาการมะเร็งปอดจะได้รับการประเมินความเสี่ยงตามปัจจัยดังต่อไปนี้ อายุ ประวัติการสูบบุหรี่ การได้รับสารพิษและสารเคมี อันตรายจากการทำงาน ประวัติการเป็นมะเร็ง มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด ประวัติการเป็นมะเร็งปอด และการได้รับควันพิษมือสอง  
  • หลักการตรวจคัดกรองด้วยวิธี LDCT สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง มีรายละเอียดดังนี้
  • ผู้ที่มีอายุ 50 – 74 ปี มีประวัติสูบบุหรี่มากกว่า 30 แพ็กต่อปี หากเป็นผู้ที่เคยสูบบุหรี่มาก่อน ควรเลิกสูบแล้วไม่เกิน 15 ปี (หมวด 1)
  • ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีประวัติสูบบุหรี่มากกว่า 20 แพ็กต่อปี และมีปัจจัยความเสี่ยงอื่นอีก 1 ปัจจัย (นอกเหนือจากการเป็นการเป็นผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง) (หมวด 2B)
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเป็นประจำไม่จำเป็นสำหรับกลุ่มผู้มีความเสี่ยงปานกลาง ซึ่งหมายถึง ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี มีประวัติสูบบุหรี่มากกว่า 20 แพ็กต่อปี หรือเป็นผู้ที่ได้รับควันพิษมือสอง และไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ หรือเป็นกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงน้อย โดยมีอายุต่ำกว่า 50 ปี และ/หรือสูบบุหรี่น้อยกว่า 20 แพ็กต่อปี

จากการวิจัยในครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของควันบุหรี่มือสองต่อมะเร็งปอดในผู้หญิง เนื่องจากอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยมะเร็งปอดในการวิจัยคือประมาณ 55 ปี จึงสันนิษฐานได้ว่า การพัฒนาของโรคเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอด ทุกคนควรร่วมกันสนับสนุนการรณรงค์ให้ความรู้และการตรวจสุขภาพ โดยเน้นกลุ่มผู้หญิงอายุต่ำกว่า 50 ปีที่ได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นสำคัญ

ขอขอบคุณข้อมูล ศ.เกียรติคุณ นพ.สว่าง แสงหิรัญวัฒนา ศูนย์โรคปอด และระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพ

 

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook Tianxian herb
ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


มะเร็งกับการดูแล

มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับอาหาร

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.