การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งลําไส้ - การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดลำไส้ใหญ่

15-Feb-2019     อ่าน : 47355 คน


 

การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งลําไส้ - การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดลำไส้ใหญ่

การผ่าตัด ถือเป็นการรักษาหลักของมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยตัดเอาลำไส้ส่วนที่เป็นโรคและต่อมน้ำเหลืองออกไป ตัดแล้วก็ต่อ โดยอาจเป็นการต่อลำไส้ใหญ่เข้ากับลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่ส่วนที่เหลืออยู่ต่อเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง  ในบางครั้งถ้าเป็นมะเร็งที่ลุกลามมาก หรือมะเร็งของลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่อยู่ติดกับทวารหนัก ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการตัดทำลายกล้ามเนื้อหูรูดรูทวารได้ การผ่าตัดอาจมีความจำเป็นต้องทำทวารเทียมเอาปลายลำไส้ส่วนที่เหลืออยู่เปิดออกทางหน้าท้องเป็นทางให้อุจจาระออก ปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือชนิดลวดเย็บมาช่วยต่อลำไส้ ทำให้สามารถผ่าตัดมะเร็งที่อยู่ต่ำๆ โดยอยู่เหนือรูทวารหนักเพียง 4-5 เซนติเมตร ได้ โดยไม่ต้องทำทวารเทียม

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดลำไส้ใหญ่

โดยทั่วไป 2 หรือ 3 วันก่อนการผ่าตัด แพทย์จะกำหนดการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งลําไส้ให้รับประทานอาหารอ่อน หรือ อาหารที่ดูดซึมเร็วและย่อยง่าย บางครั้งก็อนุญาตให้เป็นอาหารประเภทของเหลวใส (เช่น น้ำผลไม้, น้ำซุปใส, เจลาติน) บางมื้อ และจนเมื่อ 24 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับเพียงอาหารเหลวใส และจะถูกสั่งงดอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนผ่าตัด

เนื่องจากหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ คือ เก็บกากอาหาร จึงมีแบคทีเรียบริเวณนี้มากมาย ก่อนการผ่าตัดจึงต้องมีการล้างทำความสะอาดลำไส้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยอาจทำได้ 2 แบบ คือ (1) ใช้ยาระบายอย่างแรงกระตุ้นระบบขับถ่าย หลังผ่าตัดลำไส้เอาของเสียออกจากลำไส้ (2) ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังต้องตรวจอื่นๆ อาทิ โรคประจำตัวของผู้ป่วย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน หลังผ่าตัด ลำไส้

หากก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่และอุดตันลำไส้ เป็นไปได้ที่แพทย์จะส่องกล้องเพื่อใส่ stent (ขวดลวดพลาสติก) เข้าไปขยายลำไส้ ทั้งนี้เพื่อเปิดลำไส้ไม่ให้อุดตัน เป็นการเตรียมลำไส้ให้สะอาดก่อนทำการผ่าตัดในอีก 2-3 วันถัดไป วิธียังช่วยลดผลข้างเคียงของการผ่าตัด และสามารถตัดต่อลำไส้ได้เลยโดยไม่ต้องทำทวารเทียมทางหน้าท้อง

การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งลําไส้

ผลข้างเคียงของการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงการทำงานของอวัยวะและสุขภาพของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด หลังผ่าตัดลำไส้ถ่ายบ่อย และผู้ป่วยอาจรู้สึกอึดอัดและเจ็บปวดแผล อาจต้องบรรเทาปวดด้วยยาประมาณ 2-3 วัน
ผลข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยอ่อนได้ มีเลือดออกในช่องท้อง เลือดอุดตันบริเวณขา และความเสียหายของอวัยวะใกล้เคียงในระหว่างการผ่าตัด บางกรณีการเชื่อมต่อกันใหม่ระหว่างปลายของลำไส้อาจไม่สมบูรณ์และเกิดรอยรั่วซึ่งจะนำไปสู่การติดเชื้อได้  หลังการผ่าตัดเนื้อเยื่อแผลเป็นอาจพัฒนาเป็นพังผืด เรียกว่า adhesions ซึ่งในบางรายเป็นเหตุให้ลำไส้ติดอุดตันจนต้องผ่าตัดแก้ไข เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทีมแพทย์จะคอยระวังป้องกันให้อยู่แล้ว

นอกจากนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อน หลังผ่าตัดลำไส้ ในระบบขับถ่าย อาทิ ท้องเสีย การขับถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา และหลังผ่าตัดลำไส้ถ่ายบ่อย เป็นต้น โดยส่วนใหญ่หลังผ่าตัด ผู้ป่วยต้องฝึกการควบคุมการขับถ่ายที่ผิดไปจากเดิมของลำไส้ ต้องอาศัยเวลา ความช่วยเหลือและคำแนะนำจากแพทย์ อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้น เมื่อลำไส้ที่ตัดต่อใหม่ค่อยๆ คุ้นเคยกับหน้าที่

ในด้านผลกระทบในระบบทางเดินอาหาร ช่วง 2 วันแรก หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ ระหว่างเวลานี้ผู้ป่วยจะถูกจำกัดอาหารปกติ และมีการจำกัดน้ำ เนื่องจากลำไส้ต้องการระยะเวลาในการฟื้นฟู ช่วงนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร จนเมื่อรับประทานอาหารทางปากได้ ก็ต้องค่อยๆ เริ่มจากอาหารเหลวไปสู่อาหารเนื้อสัมผัสหยาบ

เกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศหลังการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ ถ้าเป็นการผ่าตัดลำไส้ตรงออกทั้งหมด และเปิดรูระบายอุจจาระทางหน้าท้อง (Abdomino-perineal resection) อาจมีผลต่อสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย โดยมีผลทำให้จำนวนอสุจิน้อยลง เพราะประสาทควบคุมการหลั่งถูกทำลาย ดังนั้น ในรายที่ต้องการมีบุตรอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน สำหรับในผู้หญิงอาจไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศโดยตรง เพียงแต่หากมีพังผืด adhesions อาจเป็นสาเหตุให้รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดลำไส้ในลักษณะดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจกับภรรยา-สามี ถึงภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น เพื่อการมีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดลำไส้ในกรณีอื่นๆ ไม่ได้ส่งผลกระทบ

ปัจจุบันมีการผ่าตัดโดยการใช้กล้อง ซึ่งในรายที่ได้รับการผ่าตัดโดยวิธีนี้ ผู้ป่วยจะนอนโรงพยาบาลสั้นกว่ารายที่ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง แต่มีผลภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้กับท่อไตซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน อาจเกิดแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด และอาจพบไส้เลื่อนที่บริเวณแผลผ่าตัด ในกรณีที่มะเร็งลำไส้ใหญ่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง การผ่าตัดอาจต้องขยายไปยังอวัยวะเหล่านั้นด้วย เช่น กระเพาะอาหาร ตับ ไต ลำไส้เล็ก รังไข่ หรือกล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง ในรายที่มะเร็งลุกลามไปที่ตับ ศัลยแพทย์จะพิจารณาตัดตับบางส่วนออกไปด้วยเช่นกัน

อาหารและโภชนาการสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดลำไส้

กรณีการผ่าตัดลำไส้ออกบางส่วน จะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารได้รับความเสียหายบ้างในช่วงแรก และหลังผ่าตัดลำไส้ถ่ายบ่อย ควรรับประทานอาหารเหลวที่มีพลังงานสูง เพื่อให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ง่ายขึ้น ในกรณีของผักและผลไม้ เนื่องจากบางภาวะที่ระบบย่อยอาหารของผู้ป่วยเริ่มแปรปรวน การได้รับใยอาหารมากอาจส่งผลให้เกิดอาการแน่นท้องและท้องอืดได้ ควรให้ผู้ป่วยรับใยอาหารทีละน้อยแล้วสังเกตอาการ ผักบางชนิดยิ่งทำให้ท้องอืด โดยเฉพาะผักที่มีกลิ่นฉุนเพราะมีสารพวกกำมะถันอยู่มาก เช่น ต้นหอม หัวหอมใหญ่  ดังนั้น หากมีอาการท้องอืดอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยง สำหรับผลไม้สามารถรับประทานได้ทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ที่มีเส้นใยสูง เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล  ยกเว้นกรณีเพิ่งได้รับการผ่าตัดควรเลือกชนิดที่ย่อยง่าย เช่น มะละกอสุก ส้ม แก้วมังกร เป็นต้น  ที่สำคัญหลังจากการรับประทานผลไม้เส้นใยสูงแล้ว ควรเพิ่มการดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อป้องกันการอุดตันของลำไส้จากเส้นใยอาหาร

การตัดลำไส้ออกไป ผู้ป่วยอาจเกิดอาการ ปวดเกร็งช่องท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย และหลังผ่าตัดลำไส้ถ่ายบ่อย อาจพบอาการน้ำตาลในเลือดต่ำร่วมด้วย อาการดังกล่าวเรียกว่า ดัมปิ้ง ซินโดรม (Dumping Syndrome) เกิดจากการที่อาหารผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กเร็วเกินไป ทำให้มีอาการปวดเกร็งช่องท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย และอาจพบอาการน้ำตาลในเลือดต่ำร่วมด้วย มักพบในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือลำไส้ และหากดูแลตัวเองไม่ดีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้จึงควรมีการดูแลอาหารพิเศษ ดังนี้

  • ไม่ควรรับคาร์โบไฮเดรตครั้งละมากๆ ควรรับประทานทีละน้อย และจัดท่านั่งรับประทานแบบกึ่งนั่งกึ่งนอนเพื่อลดอาการดังกล่าว
  • ลดปริมาณอาหารต่อมื้อให้น้อยลง แต่รับประทานเพิ่มจำนวนมื้อขึ้นแทน
  • ไม่รับประทานอาหารร้อนจัด หรือเย็นจัดจนเกินไป  
  • ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น พวกเครื่องดื่มธัญพืช  
  • ไม่ดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหาร แต่ควรเว้นระยะห่างจากการรับประทานอาหาร 30 นาที
  • ควรอยู่ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนขณะรับประทานอาหารเพื่อให้อาหารเคลื่อนตัวได้ดีขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดสูง เช่น มะเขือเทศ ส้ม มะนาว เป็นต้น
  • ควรรับประทานอาหารที่มี pectin สูง เช่น  แอปเปิ้ล พลัม  พีช  เป็นต้น
  • ควรได้รับแคลเซียมและวิตามิน บี 12  เสริมจะสามารถทำให้ฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้น

หลังผ่าตัดลำไส้ใหญ่แล้ว ส่วนใหญ่แพทย์จะนัดให้ผู้ป่วยมาตรวจเป็นระยะ ทุก 3 เดือน 2 ปีแรก เพราะมะเร็งจะเกิดใหม่ส่วนใหญ่ประมาณ 2 ปีแรก ร้อยละ 70 หลังจากนั้นอีก 3 ปีหลัง โอกาสการเกิดซ้ำจะลดลงเหลือร้อยละ 30 หลังจาก 5 ปีแล้ว ยังคงต้องตรวจติดตามอยู่เสมอตามแพทย์นัด จากความถี่ทุก 3 เดือน ก็ขยายเป็น 6 เดือนครั้ง  จนเป็นปีละครั้งหากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก  inbox Facebook Tian Xian Herb

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook Tianxian herb
ปรึกษาผลิตภัณฑ์

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง


มะเร็งกับการดูแล

มะเร็งกับการรักษา

มะเร็งกับอาหาร

โดยตั้งแต่ปี 1998 บริษัท เฟยดา จำกัด สาขาประจำประเทศไทย เริ่มดำเนินงานนำเข้า และเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรเทียนเซียนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อ่านต่อ >>

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาน้ำเทียนเซียน

เอ็กซ์แทร็คท์ พลัส

นิทรา เฮอร์เบิล ฟุทโซค

ติดต่อเรา

02-264-2217,02-264-2218,
02-264-2219
เวลาทำการ 08.30 น.-17.00 น.
[email protected]
213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 สุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110

Copyright © 2020 บริษัท เฟยดา จำกัด. All rights reserved.